เอกซเรย์เต้านม (mammogram) เป็นวิธีตรวจหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก ซึ่งเป็นระยะที่ยังไม่เป็นก้อนใหญ่ถึงขนาดคลำพบได้โดยคนไข้หรือแพทย์ เป็นครั้งแรกในรอบ 32 ปีที่สมาคมต้านมะเร็งของอเมริกันได้เปลี่ยนแปลงคำแนะนำในผู้หญิงตรวจเต้านมด้วยการเอกซเรย์ทุกปี โดยเริ่มที่อายุ 45 ปี (แทนที่ 40 ปี) และให้เปลี่ยนเป็นทำปีเว้นปีเมื่ออายุ 55 ปี

การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผลมาจากากรทบทวนประสบการณ์ของสมาคมต้านมะเร็งอเมริกันเอง ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร JAMA เมื่อเดือนตุลาคม 2015 ในสมัยก่อนปี 2003 ไม่มีใครพูดถึงผลเสียของการทำเอกซเรย์เต้านมเพื่อหามะเร็ง

 

ซึ่งผลเสียอย่างหนึ่งของการเอกซเรย์เต้านม คือ ผลบวกลวง คือ ผลบอกว่ามีมะเร็ง แต่จริงๆ แล้ว หลังจากผ่าตัดออกมาตรวจแล้วปรากฏว่าไม่มี ทำให้ต้องผ่าตัดฟรีถึง 61% อีกอย่างหนึ่งคือปัจจุบันนี้มีข้อมูลว่า มะเร็งที่เพิ่งเริ่มเป็นไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดใหญ่ (ตัดเต้านมออก) เสมอไป ในปี 2009 อีกสถาบันคือ U.S. Preventative Service Task Force ได้ออกมาขัดแย้ง โดยแนะนำว่าไม่มีข้อมูลสนับสนุนการเริ่มเอกซเรย์เต้านมที่อายุ 40 ปี และได้แนะนำให้ทำที่อายุ 50 ปี และทำปีเว้นปี ทั้ง 2 สถานบันนี้ขัดกันมานาน จนกระทั่งสมาคมต้านมะเร็งของอเมริกัน เพิ่งจะเริ่มเปลี่ยนแปลงคำแนะนำเมื่อไม่นานมานี้