ในทุกๆวัน เราได้รับ รังสียูวี จากดวงอาทิตย์ ซึ่งมีทั้งประโยชน์และโทษ แต่ก็ยังมีแหล่งกำเนิดแสงต่างๆที่สามารถปล่อย รังสียูวี ได้เช่นกัน ซึ่งมาจากอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของเรานั่นเอง เช่น โทรทัศน์ หลอดไฟ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของเรา ไปดูกันเลยค่ะว่า รังสียูวี ที่มาจากแหล่งต่างๆ มีผลกระทบต่อสุขภาพของเราอย่างไรบ้าง

 

iStock_000042133578_Small

รังสียูวี จากแสงแดด

รังสียูวี นั้นมีทั้งประโยชน์และโทษต่อมนุษย์ โดย รังสียูวี ในขนาดต่ำๆ จะช่วยในการสังเคราะห์วิตามินดีที่ผิวหนัง แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่สูงเกินไป รังสียูวีบีจะทำลายเซลล์ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ทำให้เกิดผิวไหม้แสบลอก ผิวหมองคล้ำ

ส่วนรังสียูวีเอ เมื่อได้ผ่านลงไปได้ถึงชั้นหนังแท้ และได้รับต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะทำลายคอลลาเจนและอีลาสติน ทำลายไฟโบรบลาสต์ จึงทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น จุดด่างดำกดภูมิคุ้มกันของผิวหนัง ทำลาย DNA ทำให้เซลล์กลายพันธุ์และแบ่งตัวผิดปกติ ตามมาด้วยเนื้องอกหรือมะเร็งผิวหนังได้ โดยผู้ที่มีผิวขาวจะมีความเสี่ยงมากกว่าเนื่องจากมีเมลานินที่ช่วยปกป้องอยู่น้อยกว่านั่นเอง

นอกจากนี้ รังสียูวี ยังส่งผลก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตาด้วย แต่มีผลค่อนข้างน้อย ถ้าได้รับ รังสียูวี ความเข้มสูง จะเกิดกระจกตาอักเสบมีอาการแสบตา น้ำตาไหล แพ้แสง ตาแดง ส่วนระยะยาวจะเกิดต้อลม ต้อกระจก ในอนาคตจอตาอาจเสื่อมได้

Business lady with a printer

รังสียูวี จากเครื่องถ่ายเอกสาร

คนที่ทำงานกับเครื่องถ่ายเอกสารทุกวัน หรือคนที่ต้องนั่งใกล้เครื่องถ่ายเอกสาร มีโอกาสเสี่ยงที่จได้รับรังสีอุลตร้าไวโอเลต ซึ่งเป็นแสงที่ออกจากหลอดฟลูออเรสเซนท์ที่อยู่ในเครื่องถ่ายเอกสารโดยส่วนใหญ่ หลอดที่ใช้ในเครื่องถ่ายเอกสารเป็นหลอดฟลูออเรสเซนท์ที่มีส่วนประกอบของ metal halide หรือ quarts แสงที่ออกมาจากเครื่องถ่ายเอกสารเป็นแสงอุลตร้าไวโอเลตซึ่งหากสัมผัสกับดวงตา
โดยตรงจะทำให้เกิดการระคายเคืองตา ปวดตา ปวดแสบตา และมีอาการปวดศรีษะได้ นอกจากนี้ความร้อนจากเครื่องถ่ายเอกสารยังสามารถทำให้เกิดฝ้า กระได้ด้วย ดังนั้น ทุกครั้งที่ถ่ายเอกสารจะต้องปิดแผ่นปิด cover ทุกครั้งเพื่อป้องกันแสงที่จะสัมผัสกับเราโดยตรง นอกจากนี้ไอระเหยจากหมึก ก็สามารถทำให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เกิดอาการไอ จาม ปวดศรีษะ วิงเวียน ระคายเคืองตาได้อีกด้วย จึงควรตั้งเเครื่องถ่ายเอกสารในที่ๆมีการระบายอากาศที่ดี

iStock_000027573418_Small

รังสียูวี จากหลอดไฟชนิดต่างๆ

หลอดไฟแต่ละประเภทก็สามารถปล่อยรังสีออกมาได้เช่นกัน แต่ว่ามากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับชนิด บางชนิดก็มีอันตรายมาก แต่บางชนิดก็ไม่มีอันตราย และคงปฏิเสธไม่ได้ว่าในชีวิตประจำวันของเรามักเจอกับหลอดไฟหลากหลายชนิด ไปดูกันดีกว่าค่ะว่า หลอดไฟแต่ละชนิด มีอันตรายมากน้อยแค่ไหน

หลอดไส้ (Incandescent Light Bulb) อาศัยกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านไส้ทังสเตนจนเกิดความร้อน และแสงสว่าง ให้แสงเหลืองส้ม อายุการใช้งานสั้นและเปลืองไฟ แต่มี รังสียูวี ต่ำมาก จึงไม่ค่อยมีผลกระทบต่อสุขภาพ

หลอดฟลูโอเรสเซนท์ (Fluorescent Light) หรือ ที่เรียกกันว่าหลอดนีออนคือ หลอดแก้วสูญญากาศที่ใส่ไอปรอทไว้ เมื่อผ่านกระแสไฟจะทำให้ไอปรอทปล่อยพลังงานในรูป รังสียูวี ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตรไปกระทบสารเรืองแสงฟอสฟอรัสที่ฉาบด้านในหลอด สารเรืองแสงจะดูดซับ รังสียูวี แล้วเปล่งแสงในความยาวคลื่นที่ตามองเห็นแทน หลอดชนิดนี้อาจมี รังสียูวี หลุดรอดออกมาได้บ้างในระดับที่ไม่เป็นอันตราย

หลอดฮาโลเจน (Halogen Lamp) ใช้กระแสไฟฟ้าผ่านไส้ทังสเตนแบบหลอดไส้ แต่มีไอของธาตุฮาโลเจน เช่น คลอรีน ฟลูโอรีนในหลอดแก้ว เพื่อให้ได้แสงสีขาว มีการแผ่ รังสียูวี ในระดับที่ปลอดภัยหลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal Halide Lamp) เป็นหลอดที่ให้ความเข้มแสงสูงและความถูกต้องของสีใกล้เคียงแสงแดด มักใช้ในสนามกีฬาหรือ งานโทรทัศน์ มีการแผ่ รังสียูวี ในระดับสูงที่อาจเกิดอันตรายกับดวงตาได้

หลอด LED (Light Emitting Diode) แสงสว่างมาจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในเซมิคอนดักเตอร์ จึงไม่มีการแผ่ รังสียูวี และความร้อนปลอดภัยจากสารปรอท จึงไม่อันตรายต่อสุขภาพ

หลอดแบล็กไลท์ (Black Light) หลักการเหมือนหลอดนีออนแต่ไม่ได้เคลือบฟอสฟอรัสไว้ด้านในหลอด แผ่รังสี UVA ความยาวคลื่น 345-400 nm ซึ่งใกล้เคียงกับแสงม่วงที่ตามองเห็น จึงมีอันตรายน้อยเมื่อเปิดใช้งานในที่มืดจะเห็นเป็นสีม่วงจางๆ สิ่งของที่มีฟอสฟอรัสจะ
เรืองแสงขึ้น

หลอดยูวีฆ่าเชื้อโรค (Germicide Lamp) แผ่รังสี UVC ใช้เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำหรือในโรงพยาบาล มีอันตราย อาจทำให้เกิดผิวหนังไหม้และเยื่อบุตาอักเสบถ้าสัมผัสโดยตรงเครื่องถ่ายเอกสาร ใช้หลอดฟลูโอเรสเซนท์ความเข้มสูงหรือหลอดฮาโลเจน อาจมี รังสียูวี ได้บ้าง จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง

watching a sad movie

 

รังสียูวีจากจอโทรทัศน์

จอโทรทัศน์แบบ CRT (Cathode Ray Tube) คือ จอแก้วแบบโค้ง ที่พบในทีวีรุ่นเก่าๆ นั่นแหละค่ะ จอชนิดนี้แผ่ รังสียูวี เพียงเล็กน้อยไม่ทำอันตรายต่อสายตา หรือ ทำให้ผิวหมองคล้ำ แต่ถ้าเพ่งมากๆ อาจทำให้ตาเมื่อยล้า ปวดศีรษะได้ ยกเว้นแต่ว่าในผู้ป่วยโรคบางชนิดที่มีอาการผิวไวแสงควรหลีกเลี่ยงจอชนิดนี้

จอโทรทัศน์แบบ LCD (Liquid Crystal Display) และ Plasma ไม่แผ่ รังสียูวี แต่จอยิ่งใหญ่จะมีความร้อนสูง

Man Working With Computer And Laptop

รังสียูวีจากจอคอมพิวเตอร์และจอโทรศัพท์

จอคอมพิวเตอร์และจอโทรศัพท์ก็มี รังสียูวี ออกมาเช่นกัน แต่โดยทั่วไปแล้วผู้ผลิตก็จะควบคุมการผลิตให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย แต่หากเราใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ อย่างผิดวิธี เช่น เล่นโทรศัพท์ในที่มืด ปิดไฟดูโทรทัศน์ ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะได้รับรังสีเพิ่มมากขึ้น คนที่มีพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะทำให้ตาแห้งและกะพริบตาน้อยลง เกิดการแสบตา การมองเห็นเริ่มผิดปกติ เห็นภาพซ้อน มองไม่ชัด ปวดเบ้าตา กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า เป็นอาการเริ่มต้นของโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมและเป็นการกระตุ้นให้จอประสาทตาเสื่อมเร็วขึ้นด้วย ทางที่ดีควรเปิดไฟดูโทรทัศน์ หรือใช้โทรศัพท์ ปรับไฟหน้าจอให้เหมาะสมและไม่ใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป ควรพักสายตาด้วยการมองไปที่อื่นบ้าง ก็จะทำให้หายเมื่อยตาได้ค่ะ

 เรียบเรียงโดย : health.mthai.com