ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ โดย นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

http://www.thaihealth.or.th/

 

คำสอนดั้งเดิมได้ยินกันมาว่า ถ้าเลือดออกตามไรฟัน คือโรคขาดวิตามินซี ซึ่งปัจจุบันแทบจะไม่พบแล้ว ที่พบบ่อยมากขึ้นคือขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน 

และบางครั้งแม้แคะฟันด้วยไม้จิ้มฟันเพื่อกำจัดเศษอาหารออก (ซึ่งทันตแพทย์แนะนำว่าไม่ควรใช้วิธีนี้) ก็พบว่ามีเลือดออกปนน้ำลายออกมาให้เห็นได้ ความรู้ทางทันตวิทยาศาสตร์ปัจจุบันทราบกันแล้วว่านี่คืออาการของ "โรคปริทันต์" หรือเรียกง่ายๆ ให้เข้าใจก็คือ "โรคเหงือก"แบบไหนที่เรียกว่าโรคเหงือก?

การดูแลสุขภาพปากและฟันที่ดีจะช่วยป้องกันการเกิดเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์ การที่ท่านเริ่มมีอาการเหงือกบวมแดงมีเลือดออก นั้นบ่งบอกถึงว่าท่านเริ่มมีปัญหาโรคเหงือกขั้นต้นแล้ว ซึ่งหลายท่านปล่อยปละละเลย ทำให้โรคเหงือกเข้าขั้นลุกลามจนเป็นโรคปริทันต์ทำให้สูญเสียฟันโดยไม่รู้ตัว

เมื่อเทียบฟันเป็นบ้าน ส่วนอวัยวะรอบ ๆ ฟัน อันได้แก่ เหงือก กระดูกรอบ ๆ ฟัน ผิวรากฟันและเอ็นยึดปริทันต์เป็นส่วนของดิน รอบ ๆ บ้าน เมื่อไรก็ตามที่ดินรอบ ๆ บ้านท่านมีปัญหาไม่แข็งแรงเหมือนเช่นเคย ก็จะส่งผลให้บ้านท่านไม่แข็งแรงตามไปด้วย ดังเช่นเมื่อโรคเหงือกอักเสบลุกลามถึงขั้นสุดท้าย กระดูกรอบ ๆ ฟันและเอ็นยึดปริทันต์ ถูกทำลายไปมากทำให้เกิดฟันโยก และท่านจะสูญเสียฟันในที่สุด

ท่านทราบหรือไม่

การเป็นโรคเหงือกอักเสบ ยังทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายระบบอื่น ๆ ด้วยโดยพบว่าเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี และพบการเพิ่มความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนดในหญิงมีครรภ์

โรคเหงือกเกิดจากสาเหตุอะไร?

คราบจุลินทรีย์ในช่องปากหรือที่เรียกว่า พลัค ประกอบด้วยแบคทีเรียที่มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆ สีขาวขุ่นหรือสีเหลืองรวมตัวกันบนผิวฟัน ซึ่งก่อตัวจากคราบอาหารพวกแป้งและน้ำตาลซึ่งเป็นอาหารของแบคทีเรีย รวมทั้งการทำความสะอาดฟันไม่เพียงพอ แบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์เหล่านี้จะผลิตสารพิษทำลายเหงือก ร่วมกับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายในบริเวณนั้น แบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์เมื่อสะสมนาน ๆ จะก่อตัวเป็น หินปูนหรือหินน้ำลาย และเมื่อหินปูนและหินน้ำลาย และแบคทีเรียสะสมมากขึ้นและนานขึ้น จะเพิ่มปริมาณลึกลงไปใต้ขอบเหงือก ทำให้การอักเสบลุกลามลงไปยังอวัยวะรอบ ๆ ฟัน

ระยะและความรุนแรงของโรคเหงือก

1. โรคเหงือกอักเสบ เป็นระยะที่โรคมีการอักเสบลุกลามเกิดขึ้นเฉพาะที่เหงือก จากแบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์ที่สะสมอยู่บริเวณขอบเหงือก ทำให้เหงือกอักเสบ บวมแดง

2. โรคปริทันต์อักเสบ  เป็นระยะที่โรคมีการอักเสบที่ลุกลามไปทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะรอบ ๆ ฟันอันได้แก่ เหงือก กระดูกเบ้าฟัน เอ็นยึดปริทันต์ และผิวรากฟัน จากการสะสมของแบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์และหินปูนเป็นระยะเวลานาน และลุกลามไปในร่องเหงือกจนทำให้เหงือกร่นและฟันโยก

อาการที่บ่งบอกว่าท่านเป็นโรคเหงือกหรือโรคปริทันต์อักเสบ

-เลือดออกจากเหงือกขณะแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟัน –มีอาการเจ็บเล็กน้อยขณะแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟัน

-เหงือกบวมมีหนอง-มีกลิ่นปาก-ฟันโยก-เริ่มมีเหงือกร่น-เศษอาหารติดระหว่างซอกฟันและร่องเหงือก หากท่านมีอาการใดอาการหนึ่งดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบทันตแพทย์ด่วนโรคเหงือกป้องกันได้

1.แปรงฟันให้ถูกวิธีแปรงให้ทั่วทุกซี่ทุกด้าน แนะนำให้แปรงวันละ 2-3 ครั้ง เวลาประมาณ 2-3 นาทีต่อครั้ง (เท่ากับร้องเพลงหนึ่งเพลง) ทำให้สามารถกำจัดคราบจุลินทรีย์ที่ยึดติดอยู่กับตัวฟันออกได้

แปรงฟันอย่างไรให้ถูกวิธี

 

วิธีแปรงฟันที่คุณหมอมักแนะนำให้ผู้ป่วยเนื่องจากเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงคือ วิธี Modified Bass Method โดยมีขั้นตอนดังนี้

ท่านทราบหรือไม่

ปัจจุบันมี ยาสีฟันเพื่อดูแลสุขภาพเหงือก ที่มีส่วนผสมของเกลือโซเดียมไบคาร์บอเนตและสารสกัดจากธรรมชาติ ผ่านการพิสูจน์แล้วว่า สามารถลดคราบจุลินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ

2. การทำความสะอาดบริเวณซอกฟันทุกวันโดยใช้ไหมขัดฟันหรือเครื่องมือทำความสะอาดฟันแบบอื่น ๆ เช่น แปรงซอกฟัน เข้าไปทำความสะอาดบริเวณซอกฟักในส่วนที่แปรงสีฟันเข้าไม่ถึง ก็จะช่วยให้กำจัดคราบจุลินทรีย์อันเป็นต้นเหตุการเกิดโรคได้ดียิ่งขึ้น

วิธีใช้ไหมขัดฟัน

วิธีใช้ไหมขัดฟัน มีขั้นตอนดังนี้ ดึงไหมขัดฟันความยาวประมาณ 18 นิ้ว พันรอบนิ้วกลางทั้งสองข้างห่างกัน 2 นิ้ว จับไหมขัดฟันให้ตึง ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้สอดไหมเข้าระหว่างซอกฟัน แล้วโอบไหมโค้งรอบฟันเป็นรูปตัวซี จากนั้นเคลื่อนไหมขัดฟันขึ้นเพื่อขจัดเศษอาหารทำในลักษณะเดียวกันกับฟันซี่ข้างเคียง เมื่อจะทำความสะอาดซอกฟันถัดไปให้เลื่อนไหมจากนิ้วกลางหนึ่งไปอีกนิ้วกลางหนึ่ง เพื่อที่จะได้ใช้เส้นไหมที่สะอาด

3. ตรวจฟันกับทันตแพทย์หรือทันตแพทย์เฉพาะทาง ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อทำการขูดหินน้ำลายและขจัดคราบจุลินทรีย์ รวมทั้งขอคำแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปากของท่านเป็นประจำ

4. หมั่นตรวจตราสุขภาพในช่องปากของตนเองด้วยตนเอง เพื่อสังเกตสัญญาณเริ่มแรกของการเกิดโรคเหงือก

รู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมหันมาดูแลเอาใจใส่สุขภาพเหงือกกันบ้างนะครับ