คนที่ออกกำลังกายถึงขั้นเสียชีวิตพอมีให้เห็น  เช่น เกิดขึ้นในที่แดดจัด เป็นลมแดดจนถึงขั้น เสียชีวิต หรือคนที่มีอายุวัยกลางคนที่ห่างหายจากการออกกาลังกาย มายาวนาน วันดีคืนดีออกไปวิ่ง อาจทาให้หัวใจวาย

 

ทุกคนต่างเคยได้ยินกันมาตลอดว่าการออกกำลังกายถือเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ แต่นั่นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป เพราะการออกกำลังกายมากเกินไป ยังสามารถทำร้ายร่างกายของเราได้เช่นกัน การใช้กำลังอย่างหักโหม นอกจากจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียแล้ว ยังทำให้ เกิดอาการบาดเจ็บ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย ทีเดียว

รศ.นพ.พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์ รองคณบดี ฝ่ายกิจการนิสิต คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า การออกกำลังกายมากเกินไป เป็นการใช้ระยะเวลาที่นาน หรือว่าหนักเกินไป ปกติแล้วร่างกายของคนเรา ต้องออกกำลังกายที่พอเหมาะพอควรตามช่วงอายุของแต่ละคน แทนที่จะทำให้ร่างกายพัฒนากลับกลายเป็นว่ายิ่งถดถอยลงไปทุกวัน ยกตัวอย่างเช่น คนที่เล่นกีฬาเพื่อการแข่งขัน มีการฝึกซ้อมต่อวันเยอะ ประมาณ 5-6 ชั่วโมง อีกทั้งกลางคืนอาจพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ และการเปลี่ยนแปลงทางความสามารถในการเล่นกีฬา จนเกิดอาการบาดเจ็บ ลงแข่งขันไม่ได้ตลอดชีวิต

ลักษณะของคนที่ออกกำลังกายมากเกินไป แสดงสัญญาณออกมาให้เห็น 7 ประการ ดังนี้ หนึ่ง-ทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย สอง- เจ็บป่วยบ่อย ระบบภูมิคุ้มกันลดลง สาม- อารมณ์ขุ่นมัว รู้สึกกดดันในการออกกำลังกาย สี่-นอนไม่ค่อยหลับ มีความรู้สึกนอนไม่พอตลอดเวลา ห้า-รู้สึกขาหนัก ปวดเมื่อยไปทั้งตัว หก-มีความรู้สึกสับสน ทำให้อารมณ์แปรปรวน และข้อสุดท้าย เจ็ด- กระหายน้ำผิดปกติ เนื่องจากสูญเสียเหงื่อมาก หากใครก็ตามที่กำลังตกอยู่ใน อาการเหล่านี้ควรพักฟื้นร่างกายงดออกกำลังสักพัก 

ยิ่งโดยเฉพาะ "ผู้หญิง" อาจทำให้เกินการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น ภาวะประจำเดือน มาไม่สม่ำเสมอ จนในที่สุด ประจำเดือนหายไปก่อนวัยอันควร อีกทั้งทำให้รูปร่างผอมบาง ผิดปกติ ไขมันใต้ผิวหนังลดลง เสียสุขภาพตามมาในภายหลัง ในส่วนของ "ผู้ชาย" นั้นมักนิยมรับประทานอาหารเสริมในการเพิ่มโปรตีนให้กับกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจเกิดภาวะที่ร่างกายรับมากเกินไป ไม่พอดีกับสารอาหารในส่วนอื่นๆ ส่งผลให้ตับและไตทำงานหนัก ซึ่งความจริงแล้ว การออกกำลังกาย แป้งเป็นส่วนสำคัญ ไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริม เพียงแค่ทานอาหารเพื่อสุขภาพอย่างเหมาะสม ก็สามารถช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อได้แล้ว 

การเล่นกีฬาอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่เกิดจากการทำงานซ้ำๆ อาจทำให้เอ็นหรือ กล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดจากแรงกระทำมากๆ อย่างเช่น คนที่ออกกำลังกายโดยการเล่นเทนนิส ออกแรงหวดบ่อยครั้ง จนเกิดข้อศอกอักเสบ ซึ่งเป็นการใช้ร่างกายมากเกินไป และลักษณะการใช้งานที่ไม่เหมาะสม ทำให้มีการบาดเจ็บได้ หรือการเกร็งกล้ามเนื้อในส่วนนั้น มากเกินไป อาจเกิดอันตรายซึ่งพบมากกับอาการข้อศอกอักเสบ นิ้วล็อค เอ็นหัวไหล่อักเสบ เอ็นส้นเท้าเปื่อยขาด เป็นต้น

คนที่ออกกำลังกายถึงขั้นเสียชีวิตก็พอมีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง เช่น เกิดขึ้นในที่แดดจัดทำให้หมดแรง เป็นลมแดดจนถึงขั้นเสียชีวิต หรือว่าคนที่มีอายุวัยกลางคนที่ห่างหายจากการออกกำลังกายมายาวนาน วันดีคืนดีออกไปวิ่ง อาจทำให้หัวใจวาย ส่วนใหญ่ที่พบสาเหตุการตายมักเกินจากหัวใจวายทั้งสิ้น ดังนั้น คนที่เป็นโรคหัวใจจึงต้องระมัดระวังใน การออกกำลังกายมากกว่าคนอื่น ยิ่งปัจจุบันผู้คนให้ความสนใจในเรื่องของสุขภาพ มีการรณรงค์ให้หันมาออกกำลังกายมากขึ้น เช่น การปั่นจักรยาน การวิ่งมาราธอน หากรู้จักออกกำลังกายอย่างเหมาะสม มีสวนสุขภาพที่ให้ทั้งความสะดวกปลอดภัยและบรรยากาศที่ร่มรื่น ก็เป็นสิ่งที่ดีในการช่วย ส่งเสริมอีกหนึ่งทาง

"คนสมัยนี้มีแนวโน้มเสพติดการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความสุขของคน บางกลุ่มที่ชอบการออกกำลังกาย เมื่อถึงจุดหนึ่งจะหลั่งสารที่เรียกว่า Endorphine เป็นสารที่หลั่งออกมาทำให้รู้สึกมีความสุข จนทำให้ติด อย่างบางคนที่วิ่งมาราธอนจนมาถึงเป้าหมายอย่างที่ตั้งใจไว้ ทำให้รู้สึกถึงความโล่งสบาย เบาตัว ทำให้เกิดความสุขก็เป็นเรื่องดี แต่อย่าหักโหมจนเกินกำลัง" รศ.นพ.พงศ์ศักดิ์กล่าวเพิ่มเติม

หากสนใจที่จะวิ่งมาราธอน ควรเริ่มจาก 1 กิโล ต้องมีการฝึกฝนทุกวัน ถ้าอยากที่จะเพิ่มระยะทางที่ไกลออกไป จะต้องอ่านคู่มือเพื่อศึกษาวิธีที่ถูกต้อง ใช้ความสม่ำเสมอ อย่าหักโหมในการเพิ่มระยะ ต้องดูความ เหมาะสมกับร่างกายที่ตนเองรับไหว เคยมีนักกีฬาวิ่งมาราธอนท่านหนึ่งต้องการสปีด ระยะและเวลาในการวิ่งที่เร็วขึ้น ทำให้เกิดการใช้งานส่วนของขาหนักเกินไป ซึ่งเกิดการกระแทกซ้ำๆ ของขา แรงกดน้ำหนักไม่ไหว จนทำให้ขาหักไม่สามารถวิ่งได้อีกเลย

ดังนั้น การออกกำลังกายควรออกให้เหมาะสมแก่ช่วงวัย ในช่วงวัยเด็กที่กำลังมีการเจริญเติบโตของกระดูก แคลเซียมสำคัญมาก ควรรับประทานอาหารและดื่มนมที่ช่วยเสริมสร้างกระดูก ในส่วนของการออกกำลังกาย ควรเป็นการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ การแอโรบิก การวิ่ง และการกระโดดจะช่วยให้สุขภาพดี ส่วนคนวัยหนุ่มสาวออกกำลังกายได้ทุกประเภท การเพิ่มความเร็วความคล่องแคล่วสามารถทำได้ แต่ไม่ควรหักโหมมากนัก และในส่วนของคนวัยสูงอายุก่อนออกกำลังกายต้องมีการวอร์มอัพร่างกายก่อนทุกครั้ง เพื่อยืดเยียดกล้ามเนื้อ แล้วค่อยออกกำลังเบาๆ ตามหลักวิธีที่ถูกต้องให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ

นอกจากนี้แล้ว การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ ก็ช่วยให้ผ่อนคลายจากการออกกำลัง รวมทั้งการสวมใส่รองเท้า หากเลือกที่ไม่เหมาะสม แล้วอาจทำให้รองเท้าพังและเกิดการบาดเจ็บเท้าได้ สภาพแวดล้อมพื้นถนนในการวิ่ง หากขรุขระอาจเกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน โดยเฉพาะคนอ้วนที่ต้องการออกกำลังกาย ต้องรู้จักควบคุมอาหารด้วย ไม่ควรที่จะวิ่งเพื่อลดน้ำหนัก เพราะอาจทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ ควรหาวิธีอื่นๆ ก่อน เช่น ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น เมื่อ น้ำหนักลดแล้วจึงค่อยใช้วิธีการวิ่งเพื่อลด การกระแทกของข้อเข่า

หลังจากออกกำลังเสร็จแล้ว ต้องรู้จัก เลือกรับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ หนึ่งอาทิตย์ ควรที่จะออกกำลังกายอย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30-50 นาที เพื่อให้หัวใจเต้นเป็นปกติ ก็จะส่งผลไปยังระบบอื่นๆ ในร่างกายให้ทำงานดีไปด้วย การออกกำลังกายเหมาะกับทุกคน แม้ว่าบางคนอาจจะมีโรคประจำตัวก็ตาม ก็สามารถเลือกที่จะออกกำลังกายเฉพาะ ส่วนได้ ไม่มีห้อห้าม เพียงแต่จะมีข้อยกเว้นสำหรับบางโรคบางคนเท่านั้น

อยากสวยอยากหล่อไม่จำเป็นที่ต้องหน้าตาดีเพียงอย่างเดียว ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองในหลายๆ ส่วน โดยเฉพาะการออกกำลังกายก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้รูปร่างดี อยู่ตลอด ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม แต่ควรพอเหมาะพอควรตามสภาพร่างกาย ไม่เช่นนั้น แล้วสิ่งที่หวังว่าจะได้สุขภาพดี กลับได้สุขภาพแย่ ตอบแทน การออกกำลังกายนั้นดี แต่หากมาก เกินไป ก็ไม่ดีเช่นกัน

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  โดย ปาณัท แก้วสนิท

http://www.thaihealth.or.th/