เหล่าพนักงานออฟฟิศหรือตามห้างร้าน ที่ต้องปฏิบัติงานในที่ที่เปิดเครื่องปรับอากาศไว้ตลอดเวลา รู้ตัวไหมว่าทุกวินาทีที่เราอยู่ในห้องแอร์ อาจทำให้เราเสี่ยงต่อโรคและอาการดังต่อไปนี้ได้

 

1.โรคทางเดินหายใจ โพรงจมูกของคนเรามีเส้นเลือดแดงขนาดเล็ก และผนังบางจำนวนมากเพื่อทำหน้าที่ปรับอากาศที่เย็น หรือแห้งจากภายนอกให้มีความอบอุ่นและความชื้นเหมาะสมกับอุณหภูมิของร่างกาย แต่ในสภาพอากาศที่ค่อนข้างเย็น โดยเฉพาะหากมีอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส เซลล์ต่างๆ จะแห้งลงกว่าเดิม เชื้อโรคจึงสัมผัสกับเซลล์ได้โดยตรง โดยเฉพาะอากาศที่เย็น และไม่มีการถ่ายเทภายในห้อง เชื้อไวรัสจะเจริญเติบโตได้ดีมาก

2.โรคลีเจียนแนร์ เป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบในเครื่องปรับอากาศเป็นต้นเหตุ การเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะ ผู้ป่วยอาจมีไข้สูงประมาณ 39 องศาเซลเซียส มีอาการไอแห้งๆ ปวดท้อง เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้หากลามไปกินเนื้อปอดทั้งสองข้างก็อาจนำมาซึ่งภาวะการหายใจล้มเหลวได้

3.โรคไข้ปอนเตียก เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายแสดงปฏิกิริยาต่ออากาศปนเชื้อโรคจากแอร์เข้ามา ทำให้ป่วยไปประมาณ 2-5 วัน แล้วจากนั้นอาการจะค่อยๆ หายไปได้เอง

4.โรคจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา ไม่ว่าจะเป็นวัณโรค อีสุกอีใส หืดหอบ ปอดบวม หรือหัดเยอรมันอาจมีสาเหตุมาจากอากาศที่ผ่านช่องแอร์มาก็ได้ เพราะในเครื่องปรับอากาศมีเชื้อโรคที่แฝงมากับแอร์เย็นๆ มากมาย

5.ผื่นแพ้ ผิวหนัง แม้เครื่องปรับอากาศจะทำให้คลายร้อนลงได้ แต่หากเปิดแอร์แล้วได้กลิ่บอับ นั่นแปลได้ว่าเครื่องปรับอากาศของคุณมีเชื้ออันตรายแฝงอยู่มากจนล้นแล้ว

6.โรคตึกเป็นพิษ อากาศเย็นๆ ที่ออกมาจากสารระเหยจากสีทาผนัง เครื่องซีร็อกซ์ พรินเตอร์ ไม้อัด สารเคลือบเงาทั้งหลาย หรือแม้กระทั่งไรฝุ่นในพรมรวมอยู่ด้วย ก็อาจทำให้เกิดอาการอ่อนล้า ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ คัดจมูก ไอ จาม เกิดผดผื่นคัน ระคายเคืองดวงตา

7.ภาวะติดเชื้อ สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐ เผยข้อมูลว่าในห้องแอร์อาจเป็นมลพิษมากกว่าอากาศภายนอกหลายเท่าตัว มีแนวโน้มจะเกิดอาการติดเชื้อได้มากกว่าคนที่อยู่กลางแจ้ง โดยเฉพาะกับคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

8.ผิวแห้ง ผิวจะแห้งกร้านและก่อให้เกิดอาการคันก็จะมากขึ้นไปด้วย โอกาสติดเชื้อทางผิวหนังก็จะเพิ่มขึ้น

9.อ้วนขึ้น การอยู่ในสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ ร่างกายก็ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้เรา ลดโอกาสในการเบิร์นหรือได้ดื่มน้ำเยอะขึ้น หากจำเป็นต้องอยู่ในห้องแอร์จริงๆ ก็อย่าลืมล้างฟิลเตอร์เครื่องปรับอากาศเป็นประจำด้วย

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง