Philophobia โรคกลัวการตกหลุมรัก อาการของคนที่กลัวความรักเข้าขั้นหนัก แม้จะแค่เริ่มรู้สึกหวั่นไหวก็แทบอยากถอยใจหนี
ความรักไม่ได้สวยงามสำหรับทุกคนเสมอไป โดยเฉพาะคนที่เป็นโรค Philophobia หรือโรคกลัวการตกหลุมรัก ที่แทบไม่อยากจะรู้จักความรักเลยสักนิด และแม้เพียงจะเป็นแค่ความรู้สึกหวั่นไหวที่หลายคนบอกว่ามันชุ่มชื่นหัวใจจะตาย แต่สำหรับผู้ป่วยโรค Philophobia กลับอยากพาใจไปให้ไกลจากความรู้สึกแบบนี้
Philophobia คืออะไร ?
โรค Philophobia หรือโรคกลัวการตกหลุมรัก เรียกง่าย ๆ ว่าโรคกลัวความรัก โดยจากสถิติในบรรดาโรคกลัวชนิดต่าง ๆ Philophobia ถือว่ารั้งอันดับโรคกลัวที่มีผู้ป่วยมากที่สุด ซึ่งจากการวิเคราะห์ของเหล่านักจิตวิทยาก็พากันสันนิษฐานว่า ปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของโรคกลัวความรักอาจมาจากเรื่องใกล้ตัว ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยโรค Philophobia พยายามจะหนีความรู้สึกรัก หรือไม่อยากเข้าใกล้ความรู้สึกพิเศษกับใครอย่างจริงจังเลยสักคน และแม้จะเกิดความรู้สึกพิเศษกับใครขึ้นมาบ้าง ทว่าสุดท้ายแล้วก็มักจะไม่กล้าเปิดใจให้กับความรัก เนื่องจากเหตุผลอะไรบางอย่าง
Philophobia เกิดจากอะไรได้บ้าง ?
Philophobia หรือโรคกลัวการตกหลุมรักจัดเป็นโรคกลัวชนิดเฉพาะเจาะจง โดยอาจมีสาเหตุของโรคและอาการมาจากปัจจัยต่อไปนี้
1. เหตุการณ์ในแง่ลบที่ฝังใจมาตั้งแต่ตอนเด็ก
โดยเฉพาะหากเติบโตมาในครอบครัวที่มีปัญหาหย่าร้าง พ่อแม่ คนใกล้ตัวมีชีวิตรักในแง่ลบ เช่น ทะเลาะตบตีกันประจำ หรือแสดงความรุนแรงต่อกันบ่อย ๆ เป็นต้น
2. วัฒนธรรม ประเพณี หรือศาสนาที่มีกฎข้อห้ามเกี่ยวกับเรื่องความรักอย่างเข้มงวด
บางศาสนา วัฒนธรรม หรือประเพณีของบางที่อาจมีข้อห้ามหรือกฎเกณฑ์ที่ควรระวังหากหญิงและชายจะรัก หรือแสดงความรักต่อกัน ซึ่งอาจจะสร้างความรู้สึกเกรงกลัวฝังรากลึกในใจบางคนได้ ส่งผลให้ไม่อยากเสี่ยงกับการมีความรักนั่นเอง
3. ประสบการณ์ความรักที่ล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า
โดยเฉพาะกับคนที่มีประสบการณ์อกหักอย่างโชกโชน ความรู้สึกผิดหวัง ความเจ็บปวดที่เกิดจากการกระทำของคนเคยรัก อดีตเหล่านั้นจะตามหลอกหลอนให้รู้สึกเจ็บมากจนไม่กล้าจะเอาหัวใจตัวเองไปลอง เสี่ยงอีกครั้ง ซึ่งอาจทำให้เกิดความระแวงระวังเกินเหตุ ไม่กล้าที่จะมีรักครั้งใหม่อีกต่อไป
Philophobia อาการแบบนี้แหละใช่เลย !
ใครมีอาการตามข้างล่างนี้หลาย ๆ ข้อ นั่นเริ่มเข้าข่าย Philophobia เข้าแล้ว ลองเช็กกันดู
1. มีความกังวลทุกครั้งที่เริ่มต้นความสัมพันธ์ฉันคนรัก หรือแม้แต่รู้ใจตัวเองว่าเริ่มหวั่นไหว ก็คล้ายจะทนรับความรู้สึกนั้น ๆ ไม่ได้ จนอาจก่อให้เกิดความเครียด
2. มักจะห้ามใจตัวเองไม่ให้ถลำลึกไปกับความรู้สึกรัก ชนิดที่จริงจังมากจนเกินไป
3. มักจะหลีกเลี่ยงสถานที่ที่คนมีคู่ชอบไปเดทกัน เช่น สวนสาธารณะหรือโรงภาพยนตร์
4. ชอบอยู่คนเดียว ดูเหมือนจะรักสันโดษ แต่แท้จริงแล้วเป็นการป้องกันตัวเองไม่ให้พบเจอกับคนที่อาจจะทำให้เกิดความ รู้สึกหวั่นไหวด้วยต่างหาก
5. ไม่เปิดใจ ไม่เปิดโอกาสให้ใครได้เข้ามาทำให้รัก
6. มักจะประเมินความรู้สึกของคนใกล้ตัวว่าจริงใจ หรือรักตัวเองมากแค่ไหน แล้วจึงค่อยตัดสินใจมอบความรู้สึกในระดับที่เท่าเทียมกันกลับไป เพราะกลัวว่าหากตัวเองรักหรือจริงใจต่อคนอื่นมากกว่า อาจทำให้เจอกับความผิดหวังได้
7. เมื่อต้องเจอกับสถานการณ์หวาน ๆ หรือโดนรุกจีบ อาจมีอาการทางกายภาพอย่างเหงื่อแตก ร้องไห้ ใจสั่น หัวใจเต้นรัวเร็ว หายใจแรง ชามือ-เท้า อาเจียน หรือเป็นลม
Philophobia ขั้นไหน ควรไปพบจิตแพทย์ ?
ในผู้ป่วยบางรายที่มีความกลัวค่อนข้างรุนแรง อาจมีผลกระทบกับชีวิตประจำวันได้ อย่างเช่น กลายเป็นคนเงียบขรึม หมกมุ่นอยู่กับตัวเอง เก็บกด และหลีกหนีจากสังคม ซึ่งลักษณะดังกล่าวอาจทำให้เกิดความกดดันและความเครียดจนส่งผลกระทบต่อ สุขภาพได้
ฉะนั้นหากรู้ใจตัวเองว่าเราเสี่ยงต่อโรค Philophobia ขั้นหนัก ลองเข้าไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อหาทางออกที่ดีร่วมกันดูสักตั้งก็น่าจะดี
Philophobia รักษาอย่างไรได้บ้าง ?
แนวทางการรักษาโรคกลัวความรัก อาจทำได้ดัง 3 วิธีนี้
ความคิดและพฤติกรรมบำบัด (Cognitive Behavioral Therapy)
นักจิตวิทยาและจิตแพทย์จะเข้ามาทำความเข้าใจกับคนไข้ ชวนคุยในประเด็นที่คนไข้รู้สึกกลัว หรืออาจมีรูปภาพและคลิปวิดีโอคนรัก การตกหลุมรัก มาประกอบการรักษา ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนไข้มีทัศนคติที่ดีกับความรักมากขึ้น เป็นการกำจัดความรู้สึกกลัวในเรื่องที่ไม่น่ากลัวที่ค่อนข้างได้ผลดีต่อผู้ ป่วย
เผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว (Exposure Therapy)
นับเป็นอีกวิธีการรักษาที่ได้ผลค่อนข้างมาก โดยผู้เชี่ยวชาญจะจัดให้ผู้ป่วยเจอกับสถานการณ์หวาน ๆ ให้เพศตรงข้ามชวนพูดคุย หรือให้ดูหนังโรแมนติก ซีนสุดซึ้ง เพื่อฝึกให้คนไข้มีแรงต้านทานต่อความกลัวของตัวเองเพิ่มมากขึ้น และลดแรงกดดัน ความวิตกกังวลเมื่อเจอสถานการณ์รัก ๆ ลงไปบ้าง
รักษาด้วยยา
การรักษาด้วยยาจะเป็นแนวทางเสริมสำหรับผู้ป่วยที่มีความเครียดสูง หรือมีความรู้สึกกังวลทุกครั้งเมื่อเจอกับความกลัว โดยวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมอารมณ์และการแสดงออกของตัวเองได้ดีขึ้น
อย่างไรก็ดี โรค Philophobia ไม่ใช่โรคทางจิตชนิดรุนแรงหรือก่อให้เกิดอันตรายกับคนรอบข้าง ทว่าเป็นอาการทางจิตเวชที่ควรได้รับการเยียวยารักษา เพราะอาจกระทบเข้ากับความรู้สึก สภาพจิตใจ ตลอดจนสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยเองอย่างที่ได้บอกเอาไว้ ฉะนั้นหากพบว่าตัวเองมีอาการป่วยโรค Philophobia ก็อย่านิ่งนอนใจ หาเวลาไปพบจิตแพทย์กันดีกว่า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Philophobia รักษาอย่างไรได้บ้าง ?
แนวทางการรักษาโรคกลัวความรัก อาจทำได้ดัง 3 วิธีนี้
ความคิดและพฤติกรรมบำบัด (Cognitive Behavioral Therapy)
นักจิตวิทยาและจิตแพทย์จะเข้ามาทำความเข้าใจกับคนไข้ ชวนคุยในประเด็นที่คนไข้รู้สึกกลัว หรืออาจมีรูปภาพและคลิปวิดีโอคนรัก การตกหลุมรัก มาประกอบการรักษา ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนไข้มีทัศนคติที่ดีกับความรักมากขึ้น เป็นการกำจัดความรู้สึกกลัวในเรื่องที่ไม่น่ากลัวที่ค่อนข้างได้ผลดีต่อผู้ ป่วย
เผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว (Exposure Therapy)
นับเป็นอีกวิธีการรักษาที่ได้ผลค่อนข้างมาก โดยผู้เชี่ยวชาญจะจัดให้ผู้ป่วยเจอกับสถานการณ์หวาน ๆ ให้เพศตรงข้ามชวนพูดคุย หรือให้ดูหนังโรแมนติก ซีนสุดซึ้ง เพื่อฝึกให้คนไข้มีแรงต้านทานต่อความกลัวของตัวเองเพิ่มมากขึ้น และลดแรงกดดัน ความวิตกกังวลเมื่อเจอสถานการณ์รัก ๆ ลงไปบ้าง
รักษาด้วยยา
การรักษาด้วยยาจะเป็นแนวทางเสริมสำหรับผู้ป่วยที่มีความเครียดสูง หรือมีความรู้สึกกังวลทุกครั้งเมื่อเจอกับความกลัว โดยวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมอารมณ์และการแสดงออกของตัวเองได้ดีขึ้น
อย่างไรก็ดี โรค Philophobia ไม่ใช่โรคทางจิตชนิดรุนแรงหรือก่อให้เกิดอันตรายกับคนรอบข้าง ทว่าเป็นอาการทางจิตเวชที่ควรได้รับการเยียวยารักษา เพราะอาจกระทบเข้ากับความรู้สึก สภาพจิตใจ ตลอดจนสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยเองอย่างที่ได้บอกเอาไว้ ฉะนั้นหากพบว่าตัวเองมีอาการป่วยโรค Philophobia ก็อย่านิ่งนอนใจ หาเวลาไปพบจิตแพทย์กันดีกว่า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Heathtopia
Phobia Fears
fearof.net
ที่มา : health.kapook