ที่มา : Manager Online

http://www.thaihealth.or.th/

โดย : รศ.นพ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี ภาควิชาอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ไวรัสตับอักเสบมี 5 ชนิด ประกอบด้วย ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสที่เป็นปัญหาสำคัญในบ้านเราได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบีและซี เนื่องจากไวรัสทั้งสองชนิดทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมีมะเร็งตับตามมา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

ในประเทศไทยคาดว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีประมาณร้อยละ 5 ของประชากรหรือประมาณ 3 ล้านคน ส่วนผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมีประมานร้อยละ 1-2 ของประชากรหรือประมาน 1 ล้านคน

ไวรัสตับอักเสบบี

ในบ้านเราการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีส่วนใหญ่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก พบว่าช่วง 10-15 ปีแรกจะมีปริมาณไวรัสสูงมาก แต่ตับยังไม่อักเสบ เพราะเม็ดเลือดขาวยังไม่ทราบว่ามีไวรัสอยู่ในร่างกาย จนเข้าสู่วัยรุ่นเมื่อเม็ดเลือดขาวเริ่มตรวจพบและทำลายเซลล์ตับที่มีไวรัสอยู่ จึงทำให้มีไวรัสตับอักเสบเกิดขึ้น ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการของภาวะตับอักเสบเฉียบพลัน ได้แก่ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เจ็บใต้ชายโครงขาว มีไข้ต่ำ ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม ในผู้ที่มีภูมิต้านทานแข็งแรงพอ จะสามารถควบคุมไวรัสได้ บางรายสามารถกำจัดไวรัสได้หมด การอักเสบก็จะลดลง อาการต่างๆ จะค่อยๆ ดีขึ้นจนเป็นปกติ ในทางกลับกันในผู้ที่มีภูมิต้านทานไม่แข็งแรงพอ ไวรัสที่เหลืออยู่มากก็จะก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและมีพังผืดเกิดขึ้นมาแทนที่ ซึ่งในระยะนี้ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ นานวันเข้าก็จะมีภาวะตับแข็งและมะเร็งตับเกิดขึ้น ซึ่งพบประมาณร้อยละ 15-40 ของผู้ป่วยที่มีตับอักเสบเรื้อรัง

ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 100 เท่า และจะมีความเสี่ยงมากขึ้นอีกหากมีปัจจัยส่งเสริมอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ เพศชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ พบว่าผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตับมีโอกาสมากกว่าคนอื่นๆ มีโรคตับอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การดื่มสุรา การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบดี จะทำให้ตับมีการอักเสบมากขึ้น การได้รับสารก่อมะเร็งโดยเฉพาะสารอะฟลาท็อกซิน (aflatoxin) ซึ่งสร้างจากเชื้อราที่มักพบในธัญพืชที่เก็บไว้นานๆ หรือในที่ชื้น โดยเฉพาะถั่วลิสง ถั่วป่น พริกป่น สารอะฟลาท็อกซินนี้ทนความร้อนเป็นได้ดีไม่ถูกทำลายด้วยการหุงต้

ไวรัสตับอักเสบซี

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมักไม่ทำให้เกิดอาการเฉียบพลัน มากกว่าร้อยละ 85 ของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสนี้จะเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติ หากไม่ได้ไปพบแพทย์หรือตรวจเลือดดูค่าการทำงานของตับก็จะไม่ทราบว่าตนเองมีตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งร้อยละ 40-50 ของผู้ป่วยเหล่านี้จะเกิดภาวะตับแข็งภายใน 30-50 ปี และนำไปสู่มะเร็งตับในที่สุด

ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับเพิ่มขึ้นประมาณ 20 เท่า พบว่าผู้ที่ดื่มสุราหรือมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือเอดส์ร่วมด้วยจะเกิดตับแข็งในเวลาอันรวดเร็ว

เราจะป้องกันไวรัสตับอักเสบบีและซีได้อย่างไร

เราสามารถลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีได้หลใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น การใช้ของมีคมร่วมกับบุคคลอื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ การมีคู่นอนหลายคนหรือมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน บุคายวิธี ประกอบด้วย

1. หลีกเลี่ยงการมีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การเจาะ สักผิวหนัง การลากรทางการแพทย์ ควรสวมถุงมือ แว่นตา หรือชุดคลุม เมื่อต้องสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยทุกครั้ง

2. หญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ควรพบแพทย์ เพื่อประเมินว่ามีความจำเป็นต้องกินยาต้านไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ หากเชื้อไวรัสมีปริมานมากควรได้รับยากินต้านไวรัสช่วง 3 เดือนก่อนคลอด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก และทารกควรได้รับการฉีดวัคซีนและอินมูโนกลอบบูลิน(hepatitis B immunoglobulin, HBIG) เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกคลอด

3. การฉีดวัคซีน เรายังสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้โดยการฉีดวัคซีนซึ่งมีประสิทธิภาพดี โดยฉีดเพียง 3 เข็ด สามารถสร้างภูมิต้านทานซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ตลอดชีวิต ส่วนวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบซีในปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย