ที่มา : www.thairath.co.th
http://www.thaihealth.or.th/
ในปัจจุบันภาวะพร่องฮอร์โมนเพศในผู้ชายเป็นที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง หลายคนพยายามขวนขวายหาฮอร์โมนมาทดแทนเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น ซึ่งบางรายมี ความจําเป็นต้องได้รับฮอร์โมนทดแทนจริง แต่บางรายอาจไม่มีความจําเป็นต้องใช้ การได้รับฮอร์โมนทดแทนโดยไม่มีความรู้เพียงพอ อาจยิ่งทําให้มีอาการข้างเคียง หรืออาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ ตามมาได้
บางคนพยายามเปรียบเทียบการพร่องฮอร์โมนในเพศชายกับผู้หญิงวัยหมดประจําเดือน จนมีการเรียกผู้ชายที่มีวัยมากขึ้นว่า “ชายวัยทอง” เช่นเดียวกับที่เรียกผู้หญิงวัยหมดประจําเดือน ทั้งๆ ที่การเปลี่ยนแปลงในเพศชายมีความแตกต่างจากเพศหญิง แพทย์จํานวนมากจึงไม่ยอมรับและเรียกชายกลุ่มนี้ว่า “ชายสูงวัย” คือ มีอายุมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงตามวัยที่เพิ่มขึ้น แต่จะมีภาวะพร่องฮอร์โมนหรือไม่ก็ได้ ผิดกับในผู้หญิงที่การหมดประจําเดือนเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไป
มีการศึกษาในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 60 ปี พบว่าคนกลุ่มนี้ร้อยละ 50 มีฮอร์โมนเพศชายลดต่ำลง ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 50 ยังคงมีฮอร์โมนอยู่ในระดับปกติ อาการของผู้ชายที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศมีความหลากหลาย ไม่มีอาการเฉพาะเจาะจง อีกทั้งอาการเหล่านี้อาจจะเกิดจากโรคหรือความผิดปกติอื่นๆ ได้เช่นกัน อาการดังกล่าว ได้แก่ ความต้องการทางเพศลดลง สมรรถภาพทางเพศบกพร่อง อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อ ไม่แข็งแรง อารมณ์แปรปรวน หลงลืมง่าย นอนหลับไม่สนิท เป็นต้น
การลดลงของฮอร์โมนในเพศชายมีความแตกต่างจากในเพศหญิง ทําให้อาการต่างๆ เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนอาจจะไม่รู้สึกถึงความผิดปกติ เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงตามวัย มีการคาดการณ์ว่าเมื่อผู้ชายมีอายุมากกว่า 40 ปี ฮอร์โมนเพศจะค่อยๆ ลดลงร้อยละ 1-2 ต่อปี (เทียบกับปริมาณที่มีอยู่เดิม)
ติดตามคอลัมน์ศุกร์สุขภาพได้ในสัปดาห์หน้ากับสาระน่ารู้และเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพนะครับ