เรื่องโดย : ผศ.นพ.ภาวิทย์ เพียรวิจิตรอาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

http://www.thaihealth.or.th/

 

แต่ด้วยสภาพแวดล้อมในการทำงานในปัจจุบันที่ต้องเผชิญกับความเร่งรีบ จึงทำให้คนวัยทำงานต้องรับประทานอาหารนอกบ้าน ขาดการออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอและมีความเครียดสูงจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ และกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้อีกด้วย

ข้อมูลของกรมควบคุมโรคล่าสุดได้แสดงให้เห็นว่าคนกลุ่มวัยทำงานมักมีอาการป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือดมากเป็นอันดับที่สองในเพศหญิง และอันดับที่สามในเพศชายในประเทศไทย

ข้อมูลภายในงานประชุมวิชาการ Cardio Cocktail 2016 จัดโดยโรงพยาบาลรามาธิบดี อันมีวัตถุประสงค์เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านโรคหัวใจอันเป็นประโยชน์ต่อการดูแลและรักษาผู้ป่วย ซึ่งภายในงานมีบุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจเข้าร่วมงานจำนวนกว่า 800 คน เปิดเผยว่าภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งเป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ตามที่ต้องการจากผลกระทบของโรคความดันโลหิตสูง

โรคลิ้นหัวใจผิดปกติโรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคเบาหวาน หัวใจเต้นผิดปกติ เป็นต้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 1.หัวใจห้องขวาล้มเหลวหัวใจห้องขวาจะรับเลือดจากร่างกายแล้วสูบฉีดไปยังปอดเพื่อฟอกเลือด หากหัวใจห้องขวาล้มเหลวจะทำให้เกิดอาการบวมของเท้าและ 2.หัวใจห้องซ้ายล้มเหลวหัวใจห้องซ้ายจะรับเลือดที่ฟอกแล้วจากปอดและจะสูบฉีดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย เมื่อหัวใจห้องนี้ล้มเหลวจึงทำให้ร่างกายไม่สามารถสูบฉีดเลือด จนเนื้อเยื่อต่างๆ ขาดออกซิเจน เกิดการคั่งของน้ำและเกลือในปอด จนส่งให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอดได้"

จากข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยที่ 10% ต่อปี โดยมีกลุ่มผู้ป่วยเป็นคนในวัยทำงานอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปและยังคงมีแนวโน้มที่มีอายุลดน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากการละเลยการดูแลสุขภาพของตนเอง รวมถึงการบริโภคโซเดียมหรืออาหารที่มีรสชาติเค็มมากเกินไป

ซึ่งสอดคล้องกับรายงานจากกรมควบคุมโรคที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยรับประทานเกลือมากถึง 10.8 กรัมต่อวัน และมากกว่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำคือ 5 กรัมเท่านั้น ทั้งนี้ พบว่าผู้ป่วยวัยทำงานจำนวนมากที่มีประวัติการบริโภคโซเดียมหรืออาหารที่เค็มสูง เช่น ซีอิ๊ว น้ำปลาเต้าเจี้ยว กะปิ ปลาร้า น้ำผลไม้กระป๋อง อาหารกึ่งสำเร็จรูปขนมที่มีการเติมผงฟูมีโซเดียมรวมไปถึง ชีส เนื้อสัตว์แปรรูปต่างๆ เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงมากยิ่งขึ้นจนส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว

สำหรับการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวในปัจจุบันได้มีวิวัฒนาการที่ก้าวหน้ามากขึ้น จึงส่งผลให้การรักษาประสบความสำเร็จและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังคงต้องอาศัยความร่วมมือที่ดีระหว่างทีมแพทย์และพยาบาลกับผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ พร้อมทั้งความเหมาะสมของสภาวะของผู้ป่วยในแต่ละรายอีกด้วยอาทิ การรักษาด้วยยา การใส่เครื่องกระตุ้นซีอาร์ที การใส่เครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร การซ่อมหลอดเลือดหัวใจหรือการปลูกถ่ายหัวใจ เป็นต้น