เลนส์สัมผัส (Contact lens)

                  เป็นวัตถุลักษณะใส สำหรับครอบบริเวณกระจกตาดำ มีประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้แก่ แก้ไขภาวะสายตาผิดปกติ รักษาโรคของกระจกตาบางโรค และเพื่อความสวยงาม เลนส์สัมผัสมีจำหน่ายในรูแบบเลนส์แข็ง (hard) เลนส์แข็งที่แก๊สผ่านได้ (ridid gas permeable) และเลนส์อ่อน (soft) เลนส์สัมผัสอ่อนเป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากที่สุดมี 2 รูปแบบคือ แบบธรรมดาซึ่งมีอายุการใช้งาน 1-2 ปี และแบบใช้แล้วทิ้ง ซึ่งมีอายุการใช้งาน 1 วัน – 4 สัปดาห์ เลนส์สัมผัสอ่อนใส่และถอดง่ายกว่าชนิดแข็ง จึงเหมาะแก่ผู้ที่ใส่เลนส์สัมผัสเป็นครั้งคราวเพื่อเล่นกีฬา เมื่อเทียบกับเลนส์สัมผัสแข็งแล้ว เลนส์สัมผัสอ่อนไม่ทำให้สายตาพร่า เมื่อเปลี่ยจากเลนส์สัมผัสอ่อนไปใช้แว่นตา อย่างไรก็ตามเลนส์สัมผัสอ่อนมีข้อด้อยตรงที่เก็บสะสมสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่น ขนตา และยังดูดซับสารเคมี เช่น สายเคมีในยาหยอดตา ได้มากกว่าเลนส์สัมผัสชนิดอื่น ทำให้นอกจากเลนส์เสื่อมไวแล้ว ยังระคายเคืองดวงตาอีกด้วย การดูแลรักษาเลนส์สัมผัสอ่อนจึงมีความสำคัญมาก ขั้นตอนพื้นฐานของการดูแล ได้แก่ ถู ล้งา และแช่น้ำยา

 

 

คำแนะนำผู้รับบริการ

 

  •  การดูแลรักษาเลนส์สัมผัสมีความสำคัญมากต่อสุขภาพดวงตา จึงต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
  •  ซื้อเลนส์สัมผัสจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพราะเลนส์สัมผัสที่ซื้อออนไลน์หรือข้างถนน มักจะไม่ได้มาตรฐานและบิดเบือนประเภทของเลนส์สัมผัส ทำให้ผู้ใช้เลนส์ปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง และเพิ่มโอกาสติดเชื้อที่ดวงตา
  • ล้างมือให้สะอาดและรอให้แห้งทุกครั้งก่อน ถือเลนส์สัมผัส
  • ฆ่าเชื้อเลนส์ทุกครั้งก่อนสวมใส่แม้ว่าเลนส์จะไม่ได้ถูกใส่ทุกวัน
  • ทำความสะอาด ล้าง และฆ่าเชื้อ หรือทิ้งเลนส์สัมผัสทุกครั้งหลังถอดเลนส์
  • ถูล้างเลนส์สัมผัสทุกครั้งก่อนและหลังแช่เลนส์
  • เปลี่ยนน้ำยาสำหรับเลนส์สัมผัสทุกครั้ง ทิ้งน้ำยาที่ใช้แล้วให้หมด อย่าเทน้ำยาเพิ่มลงในตลับใส่เลนส์ โดยไม่ทิ้งน้ำยาเก่า เนื่องจากเพิ่มโอกาสติดเชื้อ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้ตาบอดได้
  • ล้างทำความสะอาดตลับแช่เลนส์สัมผัสให้สะอาดด้วยน้ำยาแช่แลนส์ เช็ดด้วยกระดาษที่ทิ้งเส้นใย หรือตากให้แห้งโดยคว่ำบนกระดาษทิชชูหลังจากแช่เลนส์ทุกครั้ง
  • ทิ้งตลับแช่เลนส์เก่าเมื่อได้รับตลับเลนส์ใหม่ จากากรซื้อน้ำยาทำความสะอาดเลนส์ขวดใหม่
  • ใช้น้ำยาสำหรับเลนส์สัมผัสตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
  • ไม่ใช้น้ำประปาหรือน้ำเปล่า สำหรับล้างหรือแช่เลนส์สัมผัสหรือตลับใส่เลนส์
  • อย่าเปลี่ยนภาชนะใส่น้ำยาที่ใช้กับเลนส์สัมผัส เนื่องจากน้ำยาทุกชนิดปราศจากเชื้อ การถ่ายน้ำยาลงภาชนะใหม่ทำให้น้ำยาไม่ปราศจากเชื้อ อาจเป็นอันตรายต่อดวงตาได้
  • เปลี่ยนเลนส์ทุกครั้งเมื่อหมดอายุการใช้งานพบแพทย์หรือผู้ตัดเลนส์สัมผัสตามนัด
  • ระวังไม่ให้น้ำกระเด็นเข้าตาในขณะที่สวมใส่เลนส์สัมผัส
  • หากใส่เลนส์สัมผัสว่ายน้ำหรือเข้าสปาควรทำความสะอาด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือทิ้งเลนส์หลังจากเสร็จกิจกรรม
  • ไม่ควรเก็บตลับเลนส์สัมผัสและอุปกรณ์อื่นๆ ไว้ในห้องน้ำ
  • หากผู้ใช้เลนส์สัมผัสมีอาการตาแดงหรือระคายเคือง ควรพบแพทย์ในทันที เนื่องจากอาจเกิดจากากรติดเชื้อโปรโตซัว ซึ่งรุนแรงถึงขั้นทำให้ตาบอดได้ในระยะเวลารวดเร็ว

 

คำแนะนำสำหรับผู้ใช้เลนส์สัมผัสแฟชั่น

             ปัจจุบันมีผู้ใช้เลนส์ชนิดนี้จำนวนมาก บางส่วนผลิตไม่ได้มาตรฐาน จึงไม่แนะนำให้ใช้ เพราะอาจเกิดอันตรายได้ ทั้งอันตรายจากากรใช้คอนแทคเลนส์ผิดวิธี หรือคอนแทกเลนส์ที่ไม่ได้มาตรฐาน

ทางเลือกในการรักษา

 

ผลิตภัณฑ์อื่นๆ สำหรับตา (Other Eye Preparations)

 

  • น้ำยาทำความสะอาดเลนส์ใช้สำหรับล้างโปรตีนและไขมันในน้ำตาที่สะสมบนผิวเลนส์ หากล้างออกไม่สะอาดจะทำให้ผิวเลนส์มีสิ่งสกปรกสะสม เลนส์จึงแข็งตัวขึ้นและทำให้มองเห็นไม่ชัด อีกทั้งอายุการใช้งานลดลง
  • น้ำยาทำความสะอาดที่มีสารลดแรงตึงผิวหรือซิเตรตใช้สำหรับล้างไขมันที่สะสมบนผิวเลนส์ ในขณะที่เอนไซม์ในรูปแบบเม็ดหรือน้ำยาใช้กำจัดคราบโปรตีน
  • น้ำยาฆ่าเชื้อหรือน้ำยาแช่เลนส์ใช้สำหรับฆ่าเชื้อและทำความสะอาดเลนส์หลังการสวมใส่เลนส์สัมผัสอ่อนทุกครั้ง เนื่องจากเป็นเลนส์ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่าเลนส์แข็ง
  • น้ำยาล้างหรือน้ำยาแช่เลนส์ใช้สำหรับแช่เลนส์เพื่อให้เลนส์ชุ่มชื้น
  • น้ำยาอเนกประสงค์สำหรับเลนส์สัมผัสอ่อนบางชนิดใช้ได้ทั้งทำความสะอาด ล้าง หล่อลื่น และแช่เลนส์
  • น้ำยาทำให้เลนส์เปียก (มักมีส่วนผสมของโพลิเมอร์ เช่น hydroxyethylcellulose, hydromelloose, polyvinylalcohol หรือ povidone หรืออาจะมีแค่น้ำเกลือร้อยละ 0.9) และน้ำตาเทียมช่วยหล่อลื่นและกันเลนส์กระแทกดวงตา ทำให้ผู้สวมใส่รู้สึกสบาย อีกทั้งยังใช้เป็นน้ำยาสำหรับช่วยให้ใส่เลนส์ได้ง่ายขึ้น