จากที่เคยผมหนา ผมแข็งแรง แต่ทำไมเดี๋ยวนี้ผมร่วงง่าย ผมบางลง ตัดให้สั้นก็แล้ว ทานอาหารเสริมก็แล้ว ปัญหาผมร่วงก็ยังไม่หาย งั้นเรามาทำความเข้าใจกับปัญหาผมร่วงควรทำไงดี กับสุขภาพดีมีคำตอบให้ค่ะ
ธรรมชาติน่ารู้เกี่ยวกับเส้นผม
ก่อนที่จะทำความรู้จักกับปัญหาผมร่วง เรามาทำความเข้าใจกับธรรมชาติของเส้นผมบนหนังศีรษะของคนเรากันก่อนนะคะ
- โดยปกติแล้วคนเรามีเส้นผมประมาณ 90,000-140,000 เส้น ซึ่งผู้หญิงจะมีมากกว่าผู้ชาย คนที่มีสีผมอ่อนจะมีปริมาณเส้นผมมากกว่าคนสีผมเข้ม
- ผมของผู้หญิงจะยาวเร็วกว่าผู้ชาย ผมของเด็กจะยาวเร็วกว่าผู้ใหญ่
- รากผม 1 รากมีผมได้ 2-4 เส้น คนผมหนาอาจมีผมขึ้นมากถึง 4 เส้นสำหรับรากผม 1 รากจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมแต่ละคนมีผมหนาบางไม่เท่ากัน โดยเฉลี่ยคนเรามีรากผมประมาณ 85,000-130,000 รากผม
- 90% ของเส้นผมจะงอกและเจริญเติบโตเป็นปกติ ส่วนอีก 10% ไม่มีการเจริญเติบโต และร่วงไปหลุดไป
- วงจรชีวิตของผมมีอายุประมาณ 2-6 ปี
- ผมมีการหลุดล่วงทุกๆ วันคล้ายกับใบไม้ที่มีการหลุดล่วงและผลัดใบ โดยปกติผมจะร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน แต่หากผู้ชายผมร่วงมากกว่า 60 เส้นต่อวัน และผู้หญิงร่วงมากกว่า 100 เส้น ถือว่ามีปัญหาผมร่วง แต่ถ้าน้อยกว่านี้ถือว่าเป็นปกติตามวงจรชีวิตเส้นผม
- หลังการหลุดล่วง ผมจะขึ้นใหม่ภายใน 6 เดือน โดยจะเริ่มสังเกตุเห็นเส้นผมไหม่ช่วง 3 เดือนขึ้นไป เพราะก่อน 3 เดือนผมขึ้นใหม่ยังสั้น ยังมองเห็นไม่ชัดเจน
อาการผมร่วง ผมบาง
หากผู้ชายผมร่วงมากกว่า 60 เส้นต่อวัน ผู้หญิงร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน เป็นสัญญาณให้เราทราบว่าเรามีปัญหาผมร่วงหรือไม่ หากมีการล่วงระหว่างการหวีผม สระผม และปริมาณไม่มากนั่นเป็นเรื่องปกติ แต่หากเพียงแค่เสยผมแล้วมีผมหลุดติดมือมาเป็นกระจุก ร่วงติดหมอน ติดที่นอนเต็มไปหมด นับๆรวมกันแล้วเกินร้อยเส้นต่อวัน เราควรหาทางแก้ปัญหาผมร่วงโดยเร็วที่สุด เพราะหากปล่อยไปเรื่อยๆ ให้หายเอง อาจทำให้เรามีผมบาง หัวล้านก่อนที่เส้นผมใหม่จะงอกมาทดแทน จนอาจทำให้ใครหลายๆ คนเครียดและขาดความมั่นใจ
อาการผมร่วง ผมบาง โดยทั่วไปมี 2 ลักษณะคือ
1 ผมร่วงเป็นหย่อมๆ คือการร่วงเป็นบริเวณเล็กๆ ประมาณ 1/4 ของวงกลม ส่วนใดส่วนหนึ่งบนศีรษะ โดยเป็นอาการผมร่วงที่พบบ่อยกว่าการล่วงทั้งหัว ซึ่งโดยปกติแล้วผมจะงอกใหม่มาทดแทนภายใน 3-6 เดือนถึงแม้จะไม่มีการรักษาใดๆ ซึ่งลักษณะดังนี้มักพบกับคนที่ชอบรวบผมแน่นเกินไป มัดผมและเปียผมตลอด.....คนที่ชอบสระผมตอนกลางคืนแล้วนอนโดยที่ผมและหนังศีรษะยังไม่แห้ง จนทำให้หนังศีรษะเป็นเชื้อรา.....คนที่ชอบทำสี ดัด ย้อม โกรกผม สารเคมีจึงเป็นสาเหตุทำให้ร่วง
2 ผมร่วงทั้งหัว ทั่วศีรษะ โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรม ระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่เป็นปกติจากโรคต่างๆ ที่เกิดจากความบกพร่องของระดับฮอร์โมน เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ ซีสต์ในรังไข่ และเกิดจากภาวะความเครียด ภาวะหลังคลอดบุตร หรือการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ หาหมอเฉพาะทางเฉพาะโรค เพื่อหาทางแก้ที่สาเหตุของโรคก่อนที่จะแก้ที่ปลายเหตุ
4 พฤติกรรม แก้ผมร่วง ด้วยตัวคุณเอง
หลังจากที่ทราบถึงกลุ่มอาการของผมร่วงแล้วว่าเป็นการร่วงแบบเป็นหย่อมๆ หรือการล่วงทั้งศีรษะ จากนั้นให้ค้นหาสาเหตุของตนเองว่าเกิดจากธรรมชาติ พฤติกรรม หรือกรรมพันธุ์ เพื่อหาทางแก้ปัญหาผมร่วงได้อย่างตรงจุด ตรงสาเหตุ
1 หยุดทำร้ายเส้นผมทุกวิธี แม้แต่การเข้าร้าน สระไดร์ผมบ่อยๆ...ไม่ใช้แชมพูที่มีสารเคมีแรงๆ ควรเลือกใช้ผลิตภัณธ์ที่สกัดจากธรรมชาติ เช่นแชมพูมะกรูด แชมพูดอกอัญชัญ...งดการย้อม ดัด กัดสีผม ทำสีผม รวมถึงการรวบผม...การถักเปียผม...การดึงรั้ง ดึงเส้นผมบ่อยๆ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผมหลุดล่วงง่าย
2 เลมผม ตัดผมให้สั้นเพื่อดูแลรักษาง่ายขึ้น เพราะเส้นผมที่ยาวย่อมต้องการสารอาหารมาบำรุงมากกว่าผมสั้น ดังนั้นเมื่อเรามีสารอาหารไม่เพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงผมทุกเส้น ผมที่ขาดการบำรุง สารอาหารหล่อเลี้ยงไม่ถึงก็ต้องขาดสารอาหาร รากอ่อนแอ และหลุดล่วงไปในที่สุด ไม่ต่างจากต้นไม้ที่เมื่อขาดน้ำ ขาดสารอาหารสำคัญ ใบจะแห้งเหี่ยวและหลุดล่วง เหลือไว้แต่ลำต้น ผมของคนเราก็เช่นกัน
3 บำรุงรากผม และรักษาหนังศีรษะให้สะอาด ให้ไม่มันหรือแห้งจนเกินไป สำหรับคนหนังศีรษะมันให้สระทุกวัน ส่วนคนหนังศีรษะแห้งอาจสระวันเว้นวัน แต่ไม่ควรปล่อย 3-4 วันสระครั้ง เพราะโอกาสที่หนังศีรษะจะมัน สกปรก หมักหมม เกิดขึ้นได้ง่ายกว่าการสระทุกวันหรือสระวันเว้นวัน และที่สำคัญคือไม่สระผมในเวลากลางคืน..เสี่ยงต่อหนังศีรษะชื้น เกิดเชื้อรา สาเหตุหนึ่งของผมร่วง
4 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร โดยงดทานอาหารที่มีไขมันสูง เพราะเป็นการกระตุ้นต่อมไขมันให้ผลิตน้ำมันออกมาทางหนังศีรษะมากขึ้น ควรเปลี่ยนมาทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ช่วยบำรุงรากผมให้แข็งแรงมากขึ้น เช่น ธัญพืช ถั่วต่างๆ ปลาแซลมอน เม็ดอัลมอนด์ พืชผักสีเขียว
สำหรับปัญหาผมร่วงทั้งหัวที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และโรคต่างๆ เราควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรปฎิบัติควบคู่กับ 4 พฤติกรรมแก้ผมร่วงด้วย เพื่อการดูแลรากผมให้แข็งแรงอย่างถาวร
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://sukkaphap-d.com/