เอสเค-ทู เผยผลการสำรวจ1 เกี่ยวกับภาวะกดดันเรื่องอายุของผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พบว่า ผู้หญิงเพียง 2 จาก 10 คนเท่านั้น ที่ไม่รู้สึกแย่กับการมีอายุมากขึ้น

กว่าครึ่งหนึ่งของผู้หญิงเอเชียที่เข้าร่วมการสำรวจเผยว่า ตนเองรู้สึกไม่ดีและไม่พอใจกับมุมมองที่ผู้อื่นมีต่อสถานะของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมมองเกี่ยวกับอายุหรือสถานภาพทางการสมรส ซึ่งมีผู้หญิงถึงร้อยละ 72  ในประเทศเกาหลีใต้ และร้อยละ 62 ในประเทศจีนที่ต้องตอบคำถามในประเด็นนี้จากคนรอบข้างและรู้สึกไม่สบายใจ

ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้นำมาเป็นสองอันดับแรกที่ผู้หญิงรู้สึกไม่มีความสุขกับการมีอายุมากขึ้น ซึ่งผู้หญิงญี่ปุ่นจาก 6 ใน 10 คน และผู้หญิงเกาหลีใต้เกินครึ่งที่รู้สึกแบบนี้เช่นกัน ส่วนในประเทศจีน ผู้หญิงโสดกว่า 6 ใน 10 คน ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี ต่างชี้ว่า การหาคู่ที่เหมาะสมเพื่อแต่งงาน เป็นเรื่องที่ชวนให้เครียดที่สุดสำหรับผู้หญิงโสดในวัยของตน

สำหรับในประเทศไทยเอง ร้อยละ 56 ของผู้หญิงไทยคิดว่าช่วงวัยที่ดีที่สุดในชีวิตของผู้หญิงที่หลายๆอย่างลงตัว คือช่วงอายุไม่เกิน 30 ปี มีเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นที่คิดว่าช่วงอายุ 31-40 เป็นช่วงอายุที่ดีที่สุด ซึ่งมีสัดส่วนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แสดงให้เห็นถึงการมีช่วงอายุที่ตั้งไว้ในใจ และในด้านของสาเหตุความเครียดผู้หญิงไทยเกือบครึ่งหนึ่งระบุว่า การต้องตอบคำถามจากสังคมรอบข้าง อาทิ เพื่อน ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน เป็นต้นเหตุของความเครียดของพวกเธอ

 

      การสำรวจออนไลน์นี้จัดทำโดยบริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2560 จากผู้หญิง 4,280 คน และผู้ชาย 3,261 คน ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี ในประเทศต่างๆ ดังนี้ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และออสเตรเลียผลการสำรวจเหล่านี้เน้นย้ำให้เห็นถึงปัญหาทางสังคมอย่างกว้างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะกดดันเรื่องอายุ

เพื่อเป็นการต่อยอดแนวคิด #changedestiny ของแบรนด์และต่อยอดแคมเปญ “Marriage Market Takeover” ของประเทศจีนในปีที่แล้ว เอสเค-ทู ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวชั้นสูง มุ่งที่จะนำเสนอประเด็นดังกล่าวด้วยการสร้างสรรค์แคมเปญใหม่ ที่ขยายออกมาจากแคมเปญของเอสเค-ทูในประเทศจีน โดยมีประเทศญี่ปุ่นและ    เกาหลีใต้เข้าร่วมแคมเปญนี้ด้วย เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการพูดถึงประเด็นดังกล่าวในระดับเอเชียแปซิฟิก หัวใจของแคมเปญใหม่นี้ คือ ภาพยนตร์สั้น “The Expiry Date” สามารถรับชมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=v3JCA4lCMGw

 

ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เอสเค-ทู ได้นำความคิดของผู้หญิงหลายๆคนที่รู้สึกว่าตนเองมีวันหมดอายุอยู่ในตัว มาตีความให้เห็นจริง ผ่านเรื่องราวของผู้หญิง 3 คน ที่ได้เดินทางผ่านแต่ละช่วงวัยในชีวิตพร้อมกับความกดดันทั้งจากภายในและภายนอกเรื่องอายุ ที่ค่อยๆเกิดขึ้นจากกรอบที่สังคมวางไว้ ผ่านการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ด้วยการประทับตราตัวเลขวันหมดอายุลงบนท้องแขน ซึ่งจะปรากฏชัดขึ้นเรื่อยๆตามอายุที่มากขึ้น จุดประสงค์ของภาพยนตร์คือการแสดงให้เห็นถึงลำดับของชีวิตที่สังคมกำหนดให้ผู้หญิง และเพื่อจุดประเด็นเกี่ยวกับภาวะความกดดันเรื่องอายุที่ผู้หญิงทั่วทั้งเอเชียและทั่วโลกต่างประสบ

     จากมุมมองของดร.แซนดี โท ผู้เชี่ยวชาญ นักสังคมศาสตร์และผู้เขียนหนังสือ China’s Leftover Women (Routledge 2015)  กล่าวเสริมว่า “ภาวะการเลือกปฏิบัติจากการตัดสินเรื่องอายุถือเป็นปัญหาระดับโลกที่ผู้หญิงต้องเผชิญในทุกวันนี้ โดยเฉพาะผู้หญิงโสด ความกดดันจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อพวกเธออยู่ในวัย 30 กลางๆ หรือเมื่อมีอายุ 35 ปีขึ้นไป เมื่อถึงช่วงวัยหนึ่ง หากผู้หญิงคนนั้นยังโสดและไม่มีครอบครัวเป็นของตัวเอง สังคมก็จะมองว่าเธอนั้นผิดปกติ” แม้ว่าร้อยละ 70 ของผู้หญิงเอเชียกล่าวว่าความรู้สึกกดดันที่ตัวเองต้องมีอายุมากขึ้นนั้นเป็นความกดดันภายใน แต่พวกเธอส่วนใหญ่ก็ต้องการที่จะเปิดใจคุยเรื่องดังกล่าว ซึ่งผู้หญิงกว่า 7 ใน 10 จากทั่วเอเชียเผยว่า พวกเธอต้องการพูดคุยกับคนอื่นๆ เรื่องความวิตกกังวลจากการมีอายุมากขึ้น นอกเหนือจากการนำเสนอภาพยนตร์นี้ เอสเค-ทูหวังว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขจัดความคิดในแง่ลบเกี่ยวกับอายุของผู้หญิงด้วยการส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนไหวระดับภูมิภาค รณรงค์ให้ติดแฮชแท็ก “#INeverExpire” เพื่อเป็นพื้นที่เปิดกว้างให้ผู้หญิงได้เปิดใจ แสดงความคิดเห็น และความรู้สึกลึกๆ เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว

Sandeep Seth, Brand Director, Global SK-II กล่าวว่า เมื่อสองปีที่แล้ว เอสเค-ทู ได้ออกแคมเปญ #ChangeDestiny ซึ่งเป็นการแสดงเจตนารมณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเชื่อของสังคมที่ว่าโชคชะตาของเรานั้นถูกกำหนดไว้แล้วตั้งแต่เกิดและทำให้ผู้คนหันมาสนใจในประเด็นนี้

ต่อมา เรายังได้ถกกันเรื่องปัญหาต่างๆ ที่ผู้หญิงต้องพบเจอ ในฐานะที่ประเด็นเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด #ChangeDestiny ซึ่งจากแคมเปญ “The Marriage Market Takeover” เราพบว่าความกดดันที่จะต้องแต่งงานก่อนอายุ 25 และความกลัวที่จะต้องถูกตราหน้าว่าเป็น ผู้หญิงที่ขายไม่ออกหลังอายุ 27 นั้น ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้ผู้หญิงโสดในประเทศจีนเครียดที่สุด หลังจากที่ออกแคมเปญดังกล่าว ก็มีผู้หญิงจากทั่วทุกมุมโลกออกมาแสดงความสนใจและมีส่วนร่วมกับแคมเปญนี้อย่างล้นหลาม ทำให้เราค้นพบว่าความกดดันเรื่องอายุนั้นไม่ได้เป็นเพียงปัญหาที่ผู้หญิงจีนประสบเท่านั้น หากแต่เป็นปัญหาของผู้หญิงทั่วโลก ในภาพยนตร์สั้น “The Expiry Date” เราสื่อสารเรื่องวันหมดอายุของผู้หญิงที่ถูกสังคมกำหนด ออกมาเป็นภาพที่ชัดเจนเพื่อแสดงถึงความกดดันเรื่องอายุที่ผู้หญิงเผชิญอยู่

เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าภาพยนตร์ “The Expiry Date” จะช่วยรณรงค์ให้เกิดกระแสที่ดีในระดับโลกและภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อส่งเสริมความคิดที่ว่าทุกคนควรภูมิใจกับทุกความสำเร็จในชีวิตและภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองเป็น ไม่ว่าจะมีอายุเท่าใด เพศอะไร และไม่ควรรู้สึกว่าตัวเองถูกจำกัดไว้ภายใต้กรอบของลำดับขั้นตอนในชีวิต และวันหมดอายุที่สังคมกำหนด

####เอสเคทู #skiithailand #changedestiny #INeverExpire

 

เกี่ยวกับการสำรวจ

การสำรวจดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาให้เข้าใจถึงปัญหาทางสังคมเกี่ยวกับภาวะกดดันเรื่องอายุ ซึ่งทำการสำรวจออนไลน์โดยบริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2560 จากผู้หญิง 4,280 คน และผู้ชาย 3,261 คน ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี ในประเทศต่างๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย