คุณเคยพูดต่อหน้าคนอื่นแล้วไม่ได้รับความสนใจไหม ? ไม่ว่าจะเป็นการพูดในกลุ่มเพื่อน การพูดบนเวที การพูดบนหน้าชั้นเรียน การพูดหน้าห้องประชุม ฯ หากคุณพูดเรื่องใดเรื่องหนึ่งออกไปแล้ว แต่ผลที่ได้กลับมาคือไม่มีคนสนใจฟัง ไม่มีคนคล้อยตาม หรือนำไปสู่การปฏิบัติได้ นั่นแสดงว่า “การพูด” ของคุณยังไม่สัมฤทธิ์ผล แน่นอนว่า การพูด นั้นก็ต้องเรียนรู้เทคนิคหรือหลักการ เพื่อให้สิ่งที่เราพูดออกไปทำให้ผู้อื่นคล้อยตามได้ ดูน่าเชื่อถือ และได้รับความสนใจ ลองมาดูเทคนิคที่จะช่วยให้การพูดของคุณมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมากันดีกว่าครับ

 

รู้จักควบคุมอารมณ์

 

สิ่งสำคัญประการแรกที่ต้องเอาให้อยู่หมัดคือ การควบคุมสติหรืออารมณ์ของตัวเอง สิ่งที่มักจะทำให้นักพูดตกม้าตายบนเวทีคือ อาการประหม่า หรือเกิดความเครียด ซึ่งอารมณ์เหล่านี้จะถูกแสดงออกมาทางสีหน้า ท่าทาง อาจทำให้นักพูดสูญเสียความเชื่อมั่น ผู้ฟังเองก็จะขาดความเชื่อมั่นไปด้วย ซ้ำยังดูไม่มีความน่าเชื่อถือ หากคุณจัดการกับการควบคุมอารมณ์ตรงนี้ได้เมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ฟัง มันจะช่วยให้คุณเองมีความเชื่อมั่น และดูมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

ฉับไว

เมื่อคุณสามารถควบคุมอารมณ์ได้ในระดับหนึ่งแล้ว บางครั้งบางเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็อาจจะมาเยือนคุณได้ อย่างสถานการณ์ที่ถูกปกคลุมไปด้วยความเครียดกระทันหันขณะสนทนา อย่างเช่น คู่สนทนาพูดจาในเรื่องที่ไม่เข้าหู ตรงจุดนี้อาจทำให้คุณปรี้ดแตกได้ ฉะนั้น “ความฉับไว” คือสิ่งที่คุณต้องมี ในการระงับอารมณ์โมโห ณ ขณะนั้น หากคุณคุมสติตัวเองไม่ได้อาจทำให้เกิดการโต้เถียง แสดงกิริยาท่าทาง ที่ไม่พอใจกระทบกระทั่งใส่กัน และก่อให้เกิดศึกสงครามไปในที่สุด

ทุกอย่างเรียบร้อยดี

บางครั้งในขณะที่เรากำลังเจรจากับคู่สนทนาอีกฝ่าย เราอาจติดสตั้นหรือโดนน็อคจากกลยุทธ์ชั้นเชิงการพูดองอีกฝ่ายได้ นั่นคือสิ่งที่คุณไม่ได้เตรียมรับมือ อาจทำให้รู้สึกมึนงง วิตกกังวล พลาดข้อตกลงการเจรจาไปในที่สุด ข้อนี้อาจมีวิธีแก้ที่อาจจะเรียกว่าใช้ “ความนิ่ง” ก็ไม่เชิง เพียงแต่คุณต้องใช้ความไวในการระงับความรู้สึก อย่าทำหน้าตามึนให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ เมื่อทุกอย่างสงบ คุณก็รีบหาทางพลิกเกมให้ไวซะ

เทคนิคการพูด

นิ่งเข้าไว้

เปลี่ยนตัวเองเป็นผู้ฟัง

ใครๆ ก็สามารถพูดได้ ใครๆ ก็สามารถฟังได้ แต่แท้ที่จริงแล้ว “การฟัง” กับ “การรู้จักฟัง” มีความแตกต่างกัน และ “การพูดได้” กับ “การพูดเป็น” ก็ไม่เหมือนกัน… การฟังนั้นก็คือการฟังทั่วๆ ไป ได้ยินอะไรก็ฟัง ฟังแล้วปล่อยผ่านไป ไม่เกิดประโยชน์หรือนำไปสู่กระบวนการปฏิบัติต่อ แต่การรู้จักฟังคือ การฟังที่เก็บเนื้อหา รยละเอียด และรู้จักนำมาคิด ทำให้เกิดประโยชน์ต่อ เข้าใจในท่าทาง กิริยา ที่คนพูดนั้นแสดงออกหรือพูดออกมา ส่วนการพูดได้ก็คือ พูดอะไรก็ไม่ ไม่ต้องใส่ใจในเนื้อหาสาระ ไม่มีประโยชน์ทั้งผู้พูดพูดผู้ฟัง แต่การพูดเป็นนั้น ทั้งผู้พูดและผู้ฟัง จะได้รับประโยชน์กันทั้ง 2 ฝ่าย ผู้ฟังก็สามารถนำเรื่องที่ฟังนั้นไปปรับใช้กับตัวเองได้ ทั้งนี้ก็ยังเป็นการวัดประสิทธิภาพของผู้พูดด้วยว่า พูดได้เข้าใจมากแค่ไหน เชื่อถือได้หรือไม่ ประสบความสำเร็จไหม

เทคนิคการพูด

เปลี่ยนเป็นผู้ฟังบ้าง

เข้าใจซึ่งกันและกัน

ขึ้นชื่อว่าเป็นมนุษย์ ก็ต้องมีหัวจิตหัวใจ ต้องการใครสักคนที่จะ “เข้าใจ” ในยามที่วิตกกังวลหรือมีปัญหา หากคุณสามารถทำให้เขารู้สึกว่าได้ว่าคุณนั้นเข้าใจเขา คุณก็จะถูกมองเปลี่ยนแปลงจากคนแปลกหน้าเป็นเพื่อนกับเขาไปในที่สุด ในขณะที่กำลังพูดคุยกัน เราสามารถสังเกตพฤติกรรม ท่าทาง การแสดงออก ของคนๆ นั้นได้ว่า เขามีท่าทีอย่างไร เหนื่อย ท้อแม้ วิตกกังวล หรือหงุดหงิดอะไรอยู่ หากคุณพูดในสิ่งที่คุณสามารถบ่งบอกได้ว่าคุณเข้าใจเขาว่าเขากำลังเป็นอะไร รู้สึกอย่างไร เขาจะรู้สึกได้ว่าคุณเองนั้นเป็นพวกเดียวกันหรือเป็นมิตรนั่นเอง ซึ่งก็ถือว่าคุณได้มิตรใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกคนหนึ่ง

เทคนิคการพูด

เข้าใจซึ่งกันและกัน