หากคุณเป็นคนที่ถูกว่าเป็นประจำว่า “ยังไม่ทันแก่เลยทำไม ขี้ลืม จัง” เห็นทีแบบนี้คงจะต้องจัดการกับปัญหาเรื่องนี้ซะแล้วล่ะ ส่วนจะจัดการอย่างไรน่ะหรอ วันนี้เรามีเทคนิคดีๆ ในการช่วยเตือนความจำสำหรับคนที่ชอบ ขี้ลืม มาฝาก

1. พูดกับตัวเองดังๆ

การพูดนั้นก็เปรียบเสมือนกับการจดบันทึก และสิ่งที่ดีที่สุดคือคือการพูดมาดังๆ ซ้ำๆ หลายๆ ครั้งในห้องน้ำยามเช้า ก่อนที่จะออกจากบ้าน เพื่อเป็นการย้ำเตือนสติตัวเองถึงสิ่งที่จะต้องทำในวันนั้น แต่ถ้ายังกังวลว่าจะจำไม่ได้ ลองใช้การอัดเสียงไว้ในเครื่องบันทึกเสียง หรือในโปรแกรมอัดเสียในโทรศัพท์มือถือขอตัวเอง และนำติดตัวไปด้วย เพื่อใช้เปิดในยามที่นึกไม่ออกว่าต้องทำอะไรบ้าง

เทคนิค ขี้ลืม_No.2

การจดบันทึกเอาไว้ จะช่วยให้คุณจดจำได้ดียิ่งขึ้น

2. จดบันทึกช่วยจำ

การจดบันทึกสิงต่างๆ ที่คุณจะต้องทำลงสมุดที่มีวันที่กำกับไว้ จะช่วยให้คุณวางแผนเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตง่ายขึ้น ถึงสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน แต่ละอาทิตย์ หรือในแต่ละเดือน ซึ่งจะเป็นการช่วยย้ำเตือนสมองให้จำเรื่องราวเหล่านั้นได้ดีขึ้น และควรจะพกสมุดบันทึกติดตัวไปด้วย เมื่อเวลาที่คุณนึกไม่ออกว่าต้องทำอะไร เพียงแค่หยิบสมุดจดนั้นขึ้นมาเปิดอ่านดู ก็จะช่วยคุณได้มากทีเดียวละ

เทคนิค ขี้ลืม_No.5

การแปะโน๊ตเตือนความจำไว้ตามที่ต่างๆ ช่วยให้คุณลดอาการหลงลืมได้

3. เก็บข้าวของให้เป็นที่

ควรเก็บข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ของคุณให้อยู่เป็นที่ เช่น เก็บยาที่ต้องกินก่อนนอกทุกวันไว้ที่โต๊ะข้างเตียง เก็บกุญแจบ้าน หรือกุญแจรถตรงที่แขวนกุญแจข้างประตูบ้าน เป็นต้น เพื่อช่วยให้ไม่ต้องเสียเวลาในการนึก หรือหาข้าวของทุกครั้งที่จะใช้มัน

4. ทำเป็นกิจวัตร

การทำอะไรซ้ำๆ เหมือนกันทุกวัน จนกลายเป็นเหมือนกิจวัตรประจำวันของตัวเอง จะช่วยให้สมองจดจำได้เองโดยไม่ต้องพยายาม เช่น ทุกครั้งที่อ่านหนังสือแต่ยังไม่จบ แล้วต้องไปทำอย่างอื่นก่อน หากคุณวางหนังสือไว้ในที่วางเป็นประจำทุกครั้ง เมื่อเสร็จธุระ และกลับมาอ่านต่อ สมองจะสั่งการโดยอัตโนมัติว่าคุณจะต้องไปหยิบหนังสือที่ใด

5. ติดโน้ต

การใช้แผ่นโน้ตเล็กๆ หรือโพสต์อิท ซึ่งมีขายอยู่ทั่วไปและมีขนาดพอเหมาะสำหรับการพกพา จดสิ่งที่คุณจะต้องทำลงบนกระดาษโนต้ตนั้น แล้วแปะไว้ในที่ๆ คุณเห็น หรือเดินผ่านเป็นประจำ เช่น ประตูตู้เย็น บอร์ดที่ใช้ติดกระดาษโน้ตที่อยู่ตรงกำแพงระหว่างทางเดินออกจากบ้าน หรือในรถ การเห็นโน้ตที่ติดไว้บ่อยๆ จะช่วยเตือนสมองความคุณให้จดจำเรื่องที่คุณจะต้องทำได้แม่นยำขึ้น

6. อย่าจับปลาหลายมือ

ข้อนี้ไม่ได้หมายถึงให้มีแฟนทีละหลายๆ คนนะ แต่หมายถึงคนที่ชอบทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกัน เช่น ดูทีวีขณะที่คุยโทรศัพท์กับเพื่อนไปด้วย หรืออ่านหนังสือขณะที่หูก็ฟังเพลงไปด้วย เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ไม่มีสมาธิในการจดจำ ดังนั้นจึงควรจะเลือกทำแค่อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นพอ

7. การมีร่างกายแข็งแรง

การดูแลตัวเองให้ดี กินอาหารที่ครบทุกหมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรง และเมื่อมีร่างกายที่แข็งแรงแล้วก็จะส่งผลให้มีความจำที่ดี และสมองแข็งแรงตามไปด้วย

เทคนิค ขี้ลืม_No.8

การใช้สมองขบคิดเรื่องต่างๆเป็นประจำ ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองได้

8. บริหารสมอง

การบริหารร่างกายโดยการออกกำลังก็จะช่วยให้ร่างกายนั้นกระฉับกระเฉงและกระปรี้กระเปร่าขึ้น สมองก็เช่นกัน ต้องรู้จักการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น อ่านหนังสือ เล่นดนตรี เป็นต้น เพื่อเป็นการออกกำลังสมอง ซึ่งจะช่วยให้คิดได้ฉับไว และทำให้มีความจำที่ดีขึ้น

9. ไม่ต้องรีบเกินไป

เวลาจะทำอะไรก็ตาม ควรทำให้ช้าลงหน่อย เนื่องจากสมองของเรานั้นจะจดจำสิ่งต่างๆ ได้ช้าลงเมื่อเรามีอายุที่มากขึ้น ดังนั้นการพูดเร็ว ทำเร็ว จนเกินไป มีส่วนทำให้สมองเก็บเรื่องราวเหล่านั้นไว้ไม่ทัน จึงควรจะค่อยๆ ทำไปไม่ต้องรีบมากเกิน สมองของเราจะได้จดจำสิ่งที่เราจะทำได้

10. เข้าใจความถนัดของตัวเอง

เราทุกคนมีความถนัดที่แตกต่างกัน บางคนอาจจำได้ดีเมื่อพบเห็น (การดูจากที่เราจดบันทึกไว้) บางคนจำได้ดีเมื่อได้ยินเสียง (การพูดกับตัวเองดังๆ หรืออัดเสียงไว้) แต่บางคนอาจจะได้ดีก็ต่อเมื่อต้องลงมือทำ ดังนั้นถ้าเรารู้ว่าตัวเองถนัดแบบไหน ก็ควรจะใช้วิธีนั้นเพื่อช่วยให้การจดจำของตัวเองนั้นดีขึ้น แต่จะถ้าจะให้ดีจริงๆ ก็ควรใช้ทั้ง 3 วิธีสลับกัน เพื่อเป็นการฝึกทักษะให้กับสมองไม่ในตัว