วิธีคลายเครียดแบบง่าย ๆ แค่อ้าปากให้กว้าง ๆ แล้วหัวเราะออกมาดัง ๆ สุขภาพใจและกายก็เปี่ยมสุขไปทั้งวัน แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็มาฝึกหัวเราะบำบัดไปด้วยกัน แถมช่วยรักษาโรคได้ด้วย

          ในสังคมปัจจุบันที่รายล้อมด้วยความเครียด เชื่อหรือไม่ว่า "การหัวเราะ" มีความสำคัญอย่างมาก เพราะไม่เป็นเพียงการแสดงอารมณ์สุขตามธรรมชาติของมนุษย์เท่านั้น ในทางการแพทย์ยังใช้เป็นเครื่องมือบำบัดโรคภัยและอารมณ์ซึมเศร้าได้อีกด้วย ดังที่ ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม นักจิตวิทยา เผยให้ทราบผ่านเว็บไซต์ สสส. ถึงประโยชน์ดี ๆ ที่ได้จากการหัวเราะ

          โดย ดร.วัลลภ ให้ข้อมูลว่า "การหัวเราะ" ทำให้ร่างกายหลั่งสารโดพามีนที่ช่วยในการเรียนรู้และความทรงจำ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลดีต่อระบบประสาทของเรา โดยฮอร์โมนโดพามีนจะช่วยลดความเครียด และทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลกลับมาอยู่ในระดับที่สมดุล ซึ่งจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันและร่างกายของเราแข็งแรงขึ้น ผลจากการที่เราไม่เครียดจะทำให้ร่างกายเราได้พักผ่อนเพียงพอ นอนหลับสนิท จิตใจสงบ รู้สึกสดชื่น และยังทำให้มีสมาธิมากขึ้นด้วย

          นอกจากนี้ การหัวเราะ ยังทำให้ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอ ทำให้การไหลเวียนของเลือดในร่างกายเป็นไปด้วยดี ซึ่งคนที่สามารถสร้างอารมณ์ขันและหัวเราะได้ในสถานการณ์ที่เลวร้าย จะทำให้เกิดพลังในตัวเอง คลายความเศร้าหมอง และช่วยเปิดทัศนคติในการมองโลกให้เป็นไปในทางบวกได้
 

7 เทคนิคหัวเราะบำบัดกาย


http://wm.thaibuffer.com/o/image/icon/48be2683.gifhttp://wm.thaibuffer.com/o/image/icon/48be2683.gif ความแตกต่างของการหัวเราะธรรมชาติ กับการหัวเราะบำบัด

          "การหัวเราะแบบธรรมชาติ" เกิดจากสิ่งกระตุ้นให้เราเกิดอารมณ์ขัน แต่การ "หัวเราะบำบัด" คือ ภายใน โดยผู้หัวเราะจะคอยควบคุมเส้นประสาทสรีระกายตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของเรา รวมทั้งกระบวนการหายใจของเราให้ขยับ ขับเคลื่อนโดยไม่จำเป็นต้องมีสิ่งกระตุ้นเร้า หรือใครทำอะไรให้เราเกิดอารมณ์ขัน

          ดร.วัลลภ บอกว่า การหัวเราะบำบัดมีหลายแบบ รวมถึงมีการผสมผสานระหว่างการหัวเราะและควบคุมการหายใจของโยคะเข้าด้วยกัน ซึ่งในอเมริกา แคนาดา อังกฤษ และอีกหลายประเทศ ได้นำการรักษาผู้ป่วยด้วยการหัวเราะเข้ามามีบทบาทแทนที่การบำบัดด้วยการใช้ยาคลายเครียด และยาแก้ปวด เพราะอารมณ์ขันให้ผลเช่นเดียวกับการออกกำลังกาย เป็นการเพิ่มระดับฮอร์โมนฝ่ายดี เช่น ฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยระงับความเจ็บปวด และฮอร์โมนเซโรโทนิน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เราอารมณ์ดี ขณะเดียวกันก็ทำให้ระดับฮอร์โมนความเครียดลดลง

          สำหรับประเทศไทย ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้คิดค้นการ "หัวเราะบำบัด" โดยผสมผสานการควบคุมการหายใจ การเปล่งเสียงหัวเราะ และการบริหารร่างกายไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นการหัวเราะที่ให้ผลเชิงสุขภาพโดยไม่จำเป็นต้องมีอารมณ์ขัน

          การฝึกหัวเราะบำบัด เริ่มจากฝึกหัวเราะเพื่อเคลื่อนไหวอวัยวะภายใน 4 ส่วน ด้วยการเปล่งเสียงต่าง ๆ กัน คือ เสียง "โอ" ทำให้ภายในท้องขยับ, เสียง "อา" ทำให้อกขยับขยาย, เสียง "อู" เสียง "เอ" ทำให้ลำคอเปิดโล่ง และช่วยบริหารใบหน้า ทั้งนี้ แต่ละเสียงมีท่าทางประกอบและมีประโยชน์ในการบำบัดที่ต่างกันเช่น 
 

7 เทคนิคหัวเราะบำบัดกาย


          http://wm.thaibuffer.com/o/image/icon/48be2683.gif 1. ท้องหัวเราะ กำมือชูนิ้วโป้งระดับท้อง หายใจเข้าและเปล่งเสียงหัวเราะ "โอ" ขยับมือทั้งสองข้างขึ้นลงเป็นจังหวะ ออกเสียงโอคือการหัวเราะบริเวณท้องจะช่วยในเรื่องอารมณ์ และช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานดีขึ้น และช่วยบำบัดโรคลำไส้อักเสบ

          http://wm.thaibuffer.com/o/image/icon/48be2683.gif 2. อกหัวเราะ กางแขนออกหงายฝ่ามือระดับอก หายใจเข้ากลั้นหายใจแล้วปล่อยลมหายใจออกเปล่งเสียงหัวเราะ "อา" ขยับแขนทั้งสองข้างขึ้นลงเป็นจังหวะ กระตุ้นให้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก หัวใจ ปอด และไหล่ขยับเขยื้อนไปด้วย ท่านี้จะช่วยให้อวัยวะบริเวณหน้าอกทั้งหมดทำงานได้ดีขึ้น

          http://wm.thaibuffer.com/o/image/icon/48be2683.gif 3. คอหัวเราะ ยกมือขึ้นระดับอก กำมือ ยกนิ้วโป้งตั้งขึ้น นิ้วชี้ และนิ้วกลางชี้ไปข้างหน้า หายใจเข้าและเปล่งเสียงหัวเราะ "อู" ขยับแขนตามจังหวะ เน้นพุ่งมือไปด้านหน้า เมื่อเปล่งเสียงอู จะกระตุ้นให้บริเวณลำคอสั่น ท่านี้จะช่วยแก้ปัญหาเจ็บคอ คออักเสบ ปวดคอ สำหรับคนที่มีปัญหาเนื่องจากต้องใช้เสียงเยอะ

          http://wm.thaibuffer.com/o/image/icon/48be2683.gif 4. ใบหน้าหัวเราะ ยกแขนขึ้นระดับใบหน้า ขยับนิ้วคล้ายเล่นเปียโน หายใจเข้าและเปล่งเสียงหัวเราะ "เอ" ขยับนิ้ว เคลื่อนไหวร่างกาย คล้ายท่าแหย่เด็ก ๆ นอกจากจะได้ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กที่นิ้วมือแล้ว ท่านี้ยังช่วยฝึกบริหารสมองด้วย

          http://wm.thaibuffer.com/o/image/icon/48be2683.gif 5. ไหล่หัวเราะ เป็นการบริหารช่วงไหล่ ยืนตรงแล้วส่ายไหล่ไปมา เหมือนการว่ายน้ำฟรีสไตล์ พร้อมกับเปล่งเสียง “เอ เอะ ” ใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับไหล่ ท่านี้ช่วยได้

          http://wm.thaibuffer.com/o/image/icon/48be2683.gif 6. สมองหัวเราะ โดยธรรมชาติของมนุษย์เมื่อเครียดมักจะปิดปาก เป็นเหตุให้ความดันขึ้นสมอง ท่านี้จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว โดยปิดปากแล้วเปล่งเสียง "อึ" ดันให้เกิดการสั่นสะเทือน ขึ้นไปนวดสมอง เมื่อทำเสร็จจะรู้สึกโล่ง โปร่งสบาย
 

7 เทคนิคหัวเราะบำบัดกาย


          http://wm.thaibuffer.com/o/image/icon/48be2683.gif 7. หัวเราะทั้งตัว เป็นท่าที่ต้องทำพร้อมกันกับผู้อื่น โดยกระโดดพร้อมเสียงหัวเราะแบบสุด ๆ ตามแบบของตัวเองอย่างต่อเนื่อง 1 นาที คล้ายท่ากบกระโดด เอามือสองข้างของเราไปตบมือสองข้างของเพื่อนตามจังหวะ

          "เมื่อเริ่มฝึกอย่างต่อเนื่องจะพบว่าทุกส่วนของร่างกายจะโล่ง โปร่ง เบา และสบายขึ้น ความสดชื่นเข้ามาแทนที่ เมื่อชีวิตมีความสดชื่นจะส่งผลไปถึงการมองโลกวิธีคิดหรือมุมมองการใช้ชีวิตเปลี่ยน ทั้งนี้ การดูแลสุขภาพร่างกายให้ดีแบบองค์รวมจะต้องควบคู่ไปกับการบริโภคที่ดี และออกกำลังกายที่เหมาะสมด้วย" ดร.วัลลภ กล่าวทิ้งท้าย
 
          ได้ยินแบบนี้แล้ว...มาเริ่มเปล่งเสียงหัวเราะเพื่อสุขภาพกายใจที่ดีกันเถอะ
 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

โดย กิดานัล กังแฮ Team Content www.thaihealth.or.th