กะหล่ำดอก หรือ ดอกกะหล่ำ เป็นผักอีกชนิดที่หลายๆคนชอบรับประทาน เพราะสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายและรสชาติกรอบอร่อย แต่หลายๆคนคงไม่รู้ประโยชน์และสรรคุณทางยาของ กะหล่ำดอก กันใช่ไหมคะ? วันนี้เราเอาความรู้ดีๆมาฝาก เผื่อใครที่ไม่ชอบทานจะได้ลองหันมาทานเพื่อสุขภาพกัน
คุณค่าทางอาหารของ กะหล่ำดอก
มีวิตามินซีสูงมาก ดอกกะหล่ำ 100 กรัม มีวิตามินซีสูงถึง 96 มิลลิกรัม สูงกว่าที่ร่างกายเราต้องการใน 1 วัน คือ 60 มิลลิกรัม เสียอีก นอกจากจะช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันแล้ว ยังช่วยเพิ่มปริมาณสเปิร์มและทำให้สเปิร์มแข็งแรงด้วย ในดอกกะหล่ำมีสารซัลโฟราเฟนที่เพิ่มปริมาณแอนไซม์ที่เป็นหลักในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง ช่วยป้องกันมะเร็งที่เต้านมและลำไส้ใหญ่ได้ดี
ประกอบด้วยสารเอนไซม์ต้านมะเร็งชื่อ ซัลโฟราเฟน (sulforaphane) สารฟีโนลิกส์ (phenolics) สารไอโซไทโอไซยาเนท (isothiocyanates) สารผลึกอินโดล (indoles) อินโดล ทรี คาร์บินัล (indole-3-carbinal) ไดไทอัลไทโอน (dithiolthiones) กลูโค
ไซโนเลท (glucosinolates) กรดโฟลิก และคูมารีน ( folic acid & coumarines) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกะหล่ำดิบจะมีวิตามินซีสูง มีธาตุโพแทสเซียม กำมะถัน และเส้นใยมาก
ประโยชน์ของ กะหล่ำดอก
ใช้กินเป็นผัก มีสารที่สามารถดึงสารก่อมะเร็ง (carcinogen) ออกจากเซล กลไกที่เกิดขึ้น คือ สารซัลโฟราเฟน ทำให้มีการผลิตเอมไซม์-phase II มากขึ้น ซึ่งสามารถไปลดการผลิตเอ็มไซม์-phase I ที่เป็นอันตราย เพราะเอ็มไซม์ชนิดแรกนี้สามารถไป ทำอันตรายต่อสารพันธุกรรมภายในเซล พืชในวงศ์นี้รวมไปถึง บร็อคโคลี คะน้า และกะหล่ำต่างๆ สารประกอบที่พบแล้วในพืชวงศ์นี้สามารถต้านอนุมูลอิสสระได้ดี มีสารโพแตสเซี่ยมสูง ซึ่งช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจ และความดันโลหิต มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยต้านการเกิดมะเร็ง สารซัลโฟราเฟน ช่วยเพิ่มปริมาณเอ็มไซม์ที่เป็นหลักในการต่อสู้กับเซลมะเร็งได้ดีมาก ควรกินเป็นประจำ จะสามารถช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมและลำไส้ใหญ่ได้ดี กรดโฟลิค ช่วยป้องกันมะเร็ง ลำไส้และมะเร็งเต้านม สารอินโดลส์ คาดว่าช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็งบางชนิดได้ดี สารอินโดล-3 คารฝืบินอล ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม คั้นเอาแต่น้ำอมช่วยรักษาแผลในปาก กลั้วคอแก้คออักเสบ น้ำผักสดช่วยรักษาแผลเรื้อรัง โรคเรื้อนกวาง หอบหืด ไม่ควรปรุงให้สุกเกินไป เพราะ ความร้อนจะไปทำลายคุณสมบัติทางยาได้
สรรพคุณของ กะหล่ำดอก
ใน กะหล่ำดอก จะมีสารที่สามารถดึงสารก่อมะเร็งที่เรียกว่า คาร์ซิโนเจน (carcinogens) ออกจากเซลล์ กลไกที่เกิดขึ้นคือ สารซัลโฟราเฟน (sulforaphane) ทำให้มีการผลิตเอนไซม์เฟสทูมากขึ้น (phase II) ซึ่งสามารถไปลดการผลิตเอนไซม์เฟสวัน (phase I) ที่เป็นอันตรายได้ เพราะเอนไซม์เฟสทู สามารถไปทำอันตรายสารพันธุกรรมในเซลล์ (cellular DNA) และจากรายงานผลการวิจัยที่เป็นข่าวฮือฮาเมื่อต้นปีที่แล้วพบว่า พืชในวงศ์ ครูซิเฟอร์อี้ (Cruciferae) ซึ่งรวมถึง บร็อคโคลี คะน้า ผักกาดขาว และกะหล่ำต่างๆ มีสารประกอบที่สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดี ดังนั้นจึงช่วยต้านมะเร็งได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีรายงานว่า ผักดังกล่าวช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ดี และจากการที่มีโพแทสเซียมสูงนี้เอง จึงช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจและความดันโลหิตได้อีกด้วย
มีรายงานวิธีการใช้ กะหล่ำดอก โดยให้นำ กะหล่ำดอก ไปคั้นน้ำ แล้วนำน้ำ กะหล่ำดอก ที่คั้นได้ไปใช้ อมกลั้วปาก พบว่าสามารถรักษาแผลในปาก แก้เจ็บคอ นอกจากนี้ยังพบว่าในน้ำ
กะหล่ำดอก สดช่วยรักษา แผลเรื้อรัง โรคเรื้อนกวาง ปวดศรีษะชนิดเรื้อรัง หอบหืด หลอดลมอักเสบ โดยแนะนำให้ดื่มประมาณ 1- 2 ออนซ์ทุกวัน และหากรับประทาน กะหล่ำดอก สดมีคำแนะนำว่า ในการรับประทาน กะหล่ำดอก อย่าปรุงสุกเกินไปนะคะ เพราะการปรุงสุกเกินไปจะทำลายคุณสมบัติทางยาของ กะหล่ำดอก
ขอบคุณที่มาจาก : the-than.com