ฝ้าเกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี ของผิวหนัง ที่ถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด ความร้อน ฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์ หรือการกินยาคุมกำเนิด นอกจากนี้ การใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารให้กลิ่นหอม  หรือสีบางชนิด ยากันชักบางตัว และการขาดสาอาหารโดยเฉพาะในคนที่เป็นโรคตับ และขาดวิตามินบี 12 ใครที่มีฝ้าชนิดลึกอยู่ในชั้นหนังแท้ จะกินเวลารักษานานกว่า จะเห็นผลบางราย รักษาฝ้าไม่หายเพราะหลีกเลี่ยงการถูกแดดจัดไม่ได้

 

ป้องกันฝ้าอย่างไร

ถึงแม้ว่าฝ้ารักษาไม่หายขาด แต่การหลีกเลี่ยงแสงแดดที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดฝ้าใหม่ได้ ซึ่งนอกจากป้องกันฝ้าแล้ว ยังลดผลเสียที่ทำให้หน้าเหี่ยวย่น และลดการเกิดมะเร็งผิวหนัง

 

ยารักษาฝ้า

ฝ้าบนในหน้าจะค่อยๆ ลดลง แต่ต้องใช้เวลานานในการรักษา การทาครีมรักษาฝ้าให้ทาเฉพาะตรงที่เป็นฝ้าเท่านั้น ไม่ต้องทาทั่วหน้า ยาที่ใช้รักษาฝ้ามีข้อดีและข้อด้วยแตกต่างกัน ยาบางตัวทำให้หน้าแดงจริง แต่อาจมีผลข้างเคียงด้านอื่นตามมา สำหรับยาที่ใช้กันทั่วไป มีดังนี้

1. ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone)

เป็นยารักษาฝ้า ที่ใช้บ่อยที่สุด เป็นสารโฮรดรอกซีฟีนอล ที่ยับยั้งเอนโซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) ซึ่งทำให้การผลิตเม็ดสีน้อยลง และส่วนของไฮโดรควิโนน ที่ถูกย่ยสลายก็ยังยับยั่งการทำงานของเซลล์สร้างเม็ดสีได้ โดยทั่วไปไฮโดรควิโนนมีอยู่ทั้งในรูปครีม และในรูปของสารละลายในแอลกอฮอล์

ในสหรัฐอเมริกา จัดว่าไฮโดรควิโนนมีความเข้มข้นร้อยละ 2 หรือน้อยกว่า สามารถวางขายได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ แต่ถ้ามีความเข้มข้นเกินร้อยละ 2 ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์

 

2. เทรทิโนอิน (Tretinoin)

เป็นกรดวิตามินเอ ได้ผลพอสมควรแต่ได้ผลน้อยกว่า ไฮโดรควิโนน และกินเวลานานกว่า 6 เดือน จึงจะเห็นผลมีการผสมสูตรยาฝ้า ที่มีส่วนผสมของทั้งกรดวิตามินเอ สตีรอนด์ และไฮโดรควิโนน พบว่าได้ผลเร็วขึ้น

 

3. กรดอซีเลอิก (Azelaic acid)

อยู่ในรูปของครีมความเข้มข้นร้อยละ 20 ออกฤทธิ์ใกล้เคียงกับไฮโดรควิโนน 4% อาจทำให้ผิวระคายเคือง แต่จะเกิดผิวแพ้แสง

 

4. สตีรอยด์อย่างเดียว

สามารถทำให้ฝ้าจางได้ แต่ถ้าใช้นานๆ ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผิวบาง หลอดเลือดฝอยขยาย เป็นสิวและขนใบหน้าดกขึ้น

 

5. ยารักษาฝ้าสูตรแบบใหม่

เช่น กรดโคจิก (Kojic acid) วิตามินซี สารสกัดชะเอมเทศ เป็นต้น

 

 

วิธีรักษาฝ้า เสริม

- การลอกหน้าด้วยสารเคมี

สารเคมี เช่น กรดไตรคลอโรอะซิติก กรดไกลคอลิก อาจช่วยลอกผิหนัง ส่วนบนทำให้ฝ้าจางลงได้ แต่ต้องระวังข้อแทรกซ้อน เช่น อาจเกิดรอยดำ การติดเชื้อ และแผลเป็น การลอกหน้าทำให้เซลล์ผิวหนังหลุดออกไปเร็วขึ้น ผู้ป่วยที่กินยาคุมกำเนิดไม่ควรลอกหน้า เพราะยาคุมทำให้เป็นฝ้าอยู่แล้ว จะยิ่งทำให้รอยคล้ำหลังลอกเข้มมากกว่าปกติ

ผู้ที่เคยเป็นเริมที่ใบหน้า แพทย์อาจให้กินยาต้านไวรัสเริม 2 วัน ก่อนลอกต่อจนถึง 5 วันหลังลอก เพื่อลดการกำเริบของเริม หลังลอกหน้าต้องหลีกเลี่ยงแสงแดด ทายากันแดด แต่ถ้ามีการติดเชื้อหรือการกำเริบของเริมต้องรีบพบแพทย์ทันที

 

- การกรอผิวด้วยผงขัด (microdermabrasion)

วิธีนี้จะเร่งการขจัดเซลล์ชั้นหนังกำพร้า ให้ลอกหลุดเร็วขึ้นได้ผลสำหรับฝ้า และกระที่อยู่ในชั้นตื้นๆ สำหรับข้อดีของการกรผิวด้วยผงขัด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการขัดหน้าชนิดลึก (dermabrasion) ที่เคยนิยมในยุคก่อน คือการกรอผิวด้วยผงขัด ไม่ต้องอาศัยการดมยา เทคนิคนี้ไม่เจ็บ ทำซ้ำได้บ่อยทำง่ายและรวดเร็ว ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติได้ทันที อย่างไรก็ตาม การกรอผิวด้วยผงขัดมีข้อด้อยคือ ต้องทำซ้ำหลายครั้ง และผลการรักษามีประสิทธิภาพน้อย ข้อแทรกซ้อนของการกรอผิวด้วยผงขัดคือ อาการตาแดง กลัวแสง และน้ำตาไหล การกรอผิวด้วยผงขัดเพียงอย่างเดียวไม่ค่อยได้ผลในการรักษาฝ้า เพราะเทคนิคนี้แค่ช่วยให้เม็ดสีในเซลล์ผิวหนังหลุดลอก

 

- การใช่ความเย็นจัด (Cryotherapy)

การใช้ความเย็นจัด เป็นเทคนิคที่ใช้รักษาโรคผิวหนังหลายอย่างพบว่าเซลล์ผิวหนังแต่ละชนิดถูกทำลาย ที่อุณหภูมิแตกต่างกัน คือเซลล์ผิวหนัง (keratinocytes) ถูกทำลายที่อุณหภูมิ -50 องศาเซลเซียส ส่วนเซลล์สร้างเม็ดสี (melanocytes) ไวต่อความเย็นมาก ถูกทำลายที่อุณหภูมิเพียง -5 องศาเซลเซียส จึงมักพบผิวเป็นรอยขาว เมื่อใช้ความเย็นจัดในคนสีเข็ม ใช้เทคนิคความเย็นจัด รักษาฝ้าแต่ต้องระวังข้อแทรกซ้อนที่มีได้ตั้งแต่

1. ข้อแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ อาการปวดศีรษะ เจ็บผล และเกิดตุ่มน้ำบริเวณที่ทำ

2. ข้อแทรกซ้อนที่เกิดตามมา คือ มีเลือดออก ติดเชื้อ

3. ข้อแทรกซ้อนที่เป็นอยู่ได้นาน คือ ผิวเป็นรอยดำ และมีการเปลี่ยนแปลงของการรับความรู้

4. ส่วนข้อแทรกซ้อนถาวร ได้แก่ ผมร่วง ผิวฝ่อ แผลเป็นคีลอยด์ แผลเป็น ผิวเป็นรอยขาว และเกิดเปลือกตาปลิ้น

 

- การใช้เทคนิคประจุไฟฟ้า (iontophoresis)

เมื่อ พ.ศ. 2536 มีงานวิจัยของคณะแพทย์ญี่ปุ่น ระบุว่าใช่เทคนิคไอออนไต ของวิตามินซีมารักษาฝ้าและรอยดำจากการเกิดผื่นแพ้ สัมผัสทำให้รอบดำเหล่านี้จางลงได้บ้างและช่วยให้ผิวหนังสดใสขึ้น

มีงานวิจัยของแพทย์ที่เกาหลีที่ยืนยันว่าการทำไอออนไตด้วยวิตามินซีช่วยรักษาฝ้าได้จริง วิธีไอออนไตจัดเป็นเพียงเทคนิคเสริมในการรักษาฝ้าและในปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดๆที่จะรักษาฝ้าให้หายขาดได้

ผู้ที่ใช้เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ ผู้ทีมีประวัติแพ้ยาตัวที่จะนำมาทำไอออนไต ผู้ที่มีบาดแผลที่ผิวหนังหรือผิวหนังติดเชื้อบริเวณที่จะทำและผู้ที่มีประวัติโรคลมชัก ห้ามรับการทำไอออนไตเด็ดขาด

 

- การใช้เทคนิคฉายแสง (Phototherapy)

ยังไม่นิยมใช้เทคนิคฉายแสงในการรักษาฝ้า เพระมีราคาสูง ผลการรักษายังไม่แน่นอน กลับเป็นซ้ำเมื่อหยุดการรักษา และอาจเกิดข้อแทรกซ้อนที่ใช้กัน เช่น เลเซอร์และแสงความเข้มสูง (IPL) เทคนิคนี้มีข้อแทรกซ้อน คือ อาการเจ็บปวด ผิวแดง บวม และรอยดำหลังการรักษา

 

วิธีรักษาฝ้าแบบธรรมชาติ

สูตรที่ 1 : ใช้หัวผักกาดหั่นเป็นแว่นบางๆ ทาถูบริเวณที่เป็นฝ้าให้ทั่วประมาณ 5 นาที แล้วล้างออก ทำวันละสองครั้ง เช้า-เย็น ฝ้าจะจางไปภายใน 10 วัน

 

สูตรที่ 2 : ใช้ไข่ขาวดิบ โดยเฉพาะตรงบริเวณรอบไข่แดงยิ่งดี นำมาทาหน้าวันละครั้ง ครั้งละ 5 นาที แล้วล้างออก ไข่ขาวเมื่อแห้งจะดูดเอาสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ตามหน้าออกได้ดี

 

สูตรที่ 3 : ฝานแตงกวาเป็นแว่นบาง ๆ แปะบนใบหน้าทิ้งไว้สักครู่แล้วจึงแกะออก ทำก่อนนอนจะช่วยให้รูปสึกสบายผิวหน้ามาก

 

สูตรที่ 4 : วุ้นของว่านหางจระเข้ 300 กรัม

วิธีทำ

- นำมาจากต้นที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป ให้ตัดใบของว่านหางจระเข้ออกมา 1 ใบ

- โดยเลือกเอาใบที่อยู่ด้านล่างสุด เพราะจะมีขนาดใหญ่และมีปริมาณวุ่นอยู่มาก

- จากนั้นนำมาล้างน้ำให้สะอาด

- แล้วใช้มีดเฉือน บริเวณที่โคนใบของว่าย โดยกะให้พอใช้ใน 1 ครั้ง

- ใช้พลาสติกหรือกระดาษทิชชู แปะตรงรอยที่เฉือนออกมา

- จากนั้นจึงลอกผิวใบที่หุ้มวุ้น ไปใส่ในเครื่องปั่น ปั่นให้เหลวจนเป็นเจล หรือคุณอาจใช้มือขยำเอาก็ได้เหมือนกัน

- นำวุ้นที่ปั่นได้มาใส้ถ้วย

- ต่อจากนั้นคุณก็ทำการล้างหน้าด้วยสบู่ ล้างหน้ากับน้ำอุ่น หรือผลิตภัณฑ์ล้างหน้าของคุณ

- แล้วเช็ดหน้าให้แห้ง

- คลุมผมให้มิดชิด แล้วนำน้ำว่านที่ได้มาพอกให้ทั่วใบหน้า ยกเว้ยบริเวณรอบปก และดวงตา ทิ้งไว้ประมาณ 20 นา

- เมื่อครอบกำหนดเวลาให้คุณล้างออกด้วยสบู่กับน้ำวุ้น

- ควรทำเช่นนี้ ติดต่อกันอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์