เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งบางสาเหตุก็มีอันตรายถึงแก้ชีวิต แต่บางสาเหตุก็เพียงทำให้เกิดความรำคาญ และบางครั้งก็หาสาเหตุไม่พบ
สาเหตุที่ทำให้ให้ปวดหัวปวดตามีอยู่มาก แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
– ความเครียดของกล้ามเนื้อ
– ไม่เกรน
– โรคของสมอง ตา หู โพรงจมูก และฟัน
– ความเครียดของกล้ามเนื้อ
ปวดหัวปวดตาสาเหตุนี้ มักพบบ่อยๆ คนไข้จะปวดหัวปวดตาจากความตึงเครียดของกล้ามเนื้อแถวต้นคอ และท้ายทอย อาการปวดมักจะไม่มีตำแหน่งที่แน่นอน มักจะปวดร้าวไปที่บริเวณขมับและหน้าฝาก หรือกระบอกตา อาการปวดแบบนี้อาจเกิดจากความเครียดในการทำงาน นอนผิดท่า นอนตกหมอนเป็นต้น
การปวดหัวจากความเครียดของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับตา คือการปวดกระบอกตา หลังจากการทำงานที่ละเอียด หรือต้องใช้สายตา เช่น งานฝีมือ หรืออ่านหนังสือตัวเล็กๆ นานๆ พวกนี้จะมีอาการปวดกระบอกตาและอาจร้าวไปถึงท้ายทอยได้
สาเหตุ
เกิดจากล้ามเนื้อตาล้า หรือกล้ามเนื้อตาที่ทำงานเกี่ยวกับการเพ่งไม่แข็งแรงคือเพ่งไม่เก่งนั้นเอง
ไมเกรน มักมีอาการปวดหัวข้างเดียว ตามด้วยอาการคลื่นไส้อาเจียน อารมณ์หวุดหวิด อาจจะเห็นภาพมัวไปชั่วขณะ หรือเห็นแสงไฟแลบฟ้าแลบกับอาการปวดหัวได้ พวกนี้อาจจะมีประวัติทางครอบคัวร่วมด้วย
จากโรคต่างๆ เช่น เนื้องอกในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือมีเลือดออกในเยื้อบุสมองใรรายที่เคยได้รับอุบัติเหตุ จากไซนัส จากหูน้ำหนวก จากฟันผุ ในที่นี้จะพูดเฉพาะอาการปวดหัวที่เกี่ยวข้องกับตาเท่านั้น
กล้ามเนื้อตาล้า กล้ามเนื้อตาล้า คือ อาการปวดหัว ปวดตา ที่เกิดขึ้นเวลาทำงานที่ต้องใช้สายตาใกล้ๆ ในงานที่ละเอียดคนเหล่านี้จะทำงานใช้สายตาใกล้ๆนานๆ ไม่ได้ เพราะกล้ามเนื้อตาที่ใช้มองใกล้ หรือรวมตัวเพ่งในที่ใกล้นั้นไม่แข็งแรงพอ พูดง่ายๆ คือเพ่งไม่เก่งนั่นเอง คนไข้จะมีอาการปวดตา ปวดหัว อาจจะปวดที่กระบอกตาและร้าวไปถึงท้ายทอยได้ บางครั้งก็ตาลายเวลาอ่านหนังสือ หรือทำงานที่ต้องใช้สายตาในระยะใกล้ๆ อาการนี้มักพบในวัยเด็กหรือวัยรุ่นที่ต้องอดทนอ่านหนังสือเป็นเวลานาน หรือเล่นเกมส์นานๆ อีกกลุ่มที่อายุเข้า 40 ปี ซึ่งจำเป็นต้องใช้แว่นดูใกล้ๆ คือแว่นสายตายาว
การรักษา
ในกรณีที่ปวดตาจากกล้ามเนื้อตาล้า ควรจะพบจักษุแพทย์ก่อนเพื่อดูว่ามีปัญหาเกี่ยวกับสายตาหรือไม่ ถ้ามีก็ควรแก้ไข โดนใส่แว่นในขนาดที่ถูกต้อง คนที่มีอายุ 40 ก็อาจจะต้องตัดแว่นดูใกล้ หรือแว่นสายตายาวเข้าช่วย
ในกรณีที่สายตาปกติดี หรือแก้ไขปัญหาสายตาแล้วยังปวดหัว หรือปวดตาอีก ก็ควรฝึกการเพ่งกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถทำเองได้ง่ายๆ โดยถือปากกาหรือดินสอให้ห่างสุดแขนแล้วเพ่งดูปลายปากกาหรือดินสอนั้นค่อยๆ เอาปากกาหรือดินสอเข้าหาตัวช้าๆ ขณะเดียวกันก็เพ่งดูปลายปากกาหรือดินสอตลอดเวลา โดยต้องเห็นภาพปลายปากกาหรือดินสอนั้นชัดเจน และเป็นภาพเดียวกันตลอดเวลา ถ้าเป็น 2 ภาพ หรือเริ่มเห็นไม่ชัดเจนแสดงว่าตาเริ่มไม่รวมตัว หรือเพ่งไม่ได้แล้วต้องยืดแขนถอยออกไปจนกระทั่งเห็นภาพชัดใหม่ แล้วเริ่มไม่ได้แล้วต้องยืดแขนออกไปจนกระทั่งเห็นภาพชัดใหม่ แล้วเริ่มเพ่งใหม่โดยค่อยๆ เอาปากกาหรือดินสอเข้าหาตัวช้าๆ ทำเช่นนี้ครั้งละ 10 – 15 หน วันล่ะ 3 – 5 ครั้ง
ในกรณีที่ฝึกเองลำบาก อาจจะมาฝึกกับเครื่องฝึกกล้ามเนื้อตาได้โดยเครื่องนี้จะช่วยในการฝึกระยะ เริ่มแรกให้ง่ายขึ้น หรือในรายที่ล้ามากๆ จะให้ผลเร็วกว่าทำเองที่บ้าน ควรอ่านหนังสือ หรือทำงานที่ละเอียดหรือต้องใช้สายตาที่มีแสงสว่างที่เพียงพอ และควรมีการพักระหว่างทำงานบ้างเป็นช่วงๆ เด็กๆ ควรนอนแต่หัวค่ำ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะมีเด็กหลายๆ คนที่อดนอนและปวดหัวในตอนบ่ายๆ จากการพักผ่อนไม่เพียงพอ
สายตาผิดปกติ สายตาผิดปกติ พวกนี้มักจะมีอาการปวดหัวไม่มาก แต่ในกรณีที่สายตา 2 ข้างไม่เท่ากัน หรือรายที่มีสายตาเอียงมากๆ พวกนี้จะ ให้ปวดหัว ปวดตาได้ การรักษาพวกนี้จำเป็นต้องตรวจเรื่องสายตาและแก้ไขด้วยการใช้แว่น
ต้อหินเฉียบพลัน คนไข้มักจะมีอาการปวดหัว ปวดตา ตามัว อาการปวดหัวมักรุนแรงและทายาแก้ปวดก็ไม่หาย ตาอาจจะแดง เคืองตา น้ำตาไหล ตรวจพบว่าความดันในลูกตาสูงมาก โรคนี้ควรมาพบแพทย์อย่างรีบด่วน และต้องได้รับการารักษาให้ทันท่วงที มิฉะนั้นความดันในลูกตาจะกดประสาทตาและถ้าทิ้งไว้นานเข้าก็จะกดตาบอดได้
อาการปวดหัว เป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อย และเป็นได้ในทุกคนทุกวัย สาเหตุมีต่างๆ กันส่วนใหญ่มักจะไม่มีอันตราย หายได้ง่ายๆ โดยการรับประทานยาแก้ปวด แต่อาการปวดหัวบางชนิดอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือว่าสายตาได้ เมื่อมีอาการปวดหัวร่วมกันอาการเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอบ่าง เช่น มีไข้ คอแข็ง สายตามัวลง มีอารมณ์และความประพฤติเปลี่ยนแปลงไป มีอาการปวดหัวรุนแรงจนตื่นมีอาการคลื่นไส้อาเจียนพุ่ง เป็นต้น อาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษา และต้องแก้ไขให้ทันท่วงที ถ้าเกี่ยวกับตาหรือว่าสายตา จักษุแพทย์ก็สามารถช่วยตรวจหาสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับตาได้ หรือส่งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาตามความเหมาะสมต่อไป
ที่มา : 108 อาการปวดที่รู้จักแล้วหาย